เอ็กโก กรุ๊ป คัดเลือกและคัดกรองคู่ค้าผ่านมาตรฐานการประเมินด้านความยั่งยืนที่ทางองค์กรจัดทำขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า คู่ค้าสามารถส่งมอบวัตถุดิบและบริการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่เอ็กโก กรุ๊ป คาดหวัง ผ่านการกรอกแบบประเมินตนเอง (SAQ) ที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เอ็กโก กรุ๊ป ขอสงวนสิทธิ์ตรวจสอบผลการดำเนินการด้าน Environment, Social, Governance (ESG) ของคู่ค้าตามความเหมาะสม และขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ เอ็กโก กรุ๊ป ในการจัดหาคู่ค้ารายดังกล่าวในครั้งถัดไป

คุณภาพสินค้า และการบริการ การบริหารจัดการด้านนวัตกรรม

การกำกับดูแลกิจการที่ดี การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล การปฏิบัติตามกฎหมาย

ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันการละเมิดการผิดต่อข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม

ประเด็นด้านสังคม ได้แก่การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านแรงงาน และสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การพัฒนาบุคลากร

ระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การป้องกันอุบัติเหตุและรายงานข้อมูล

การวิเคราะห์คู่ค้า

เอ็กโก กรุ๊ปวิเคราห์คู่ค้าสำคัญโดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • เป็นคู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ (Active Supplier) ในปีที่มีการประเมิน
  • เป็นคู่ค้าที่ส่งมอบสินค้าและบริการที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ (Critical Component) และ/หรือคู่ค้าที่มีจำนวนน้อยราย และไม่สามารถหาทดแทนได้ (Non-substitutable)
  • การใช้จ่ายที่สูง กล่าวคือ ร้อยละ 80 ของยอดการซื้อขายทั้งปี ในปีที่ทำการประเมิน

สำหรับการระบุคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High-risk Supplier) เอ็กโก กรุ๊ป ใช้เกณฑ์ปริมาณการใช้จ่าย และพิจารณาผลการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าในประเด็นด้านความยั่งยืนแยกเป็นแต่ละประเภท อาทิ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และภาพลักษณ์องค์กร

  • ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ อาทิ คุณภาพและราคาของสินค้าและบริการ การค้าผูกขาด การจัดหาอย่างยั่งยืน
  • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้น้ำและการจัดการน้ำเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงาน ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษทางอากาศ
  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาทิ ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต สถิติอุบัติเหตุ การเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน
  • ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง อาทิ การทุจริต การหลีกเลี่ยงภาษี สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อพนักงาน

คู่ค้าที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญและคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง โดยมีปริมาณธุรกรรมเกิน 5 ล้านบาท และได้รับคะแนนประเมินมากกว่า 50% มีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็น 'รายชื่อผู้ขายที่ได้รับอนุมัติ' ของกลุ่มเอ็กโก คู่ค้าที่มีคะแนนการประเมินต่ำกว่า 50% จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขก่อนที่จะมาเป็นคู่ค้าของกลุ่มเอ็กโก

ภาคผนวกแนบท้ายเงื่อนไขการจ้าง: ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับขอบเขตของสัญญาที่มีมูลค่าสูง

ตัวอย่างการคัดกรองและการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า

ประเทศ กิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
ระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรม ระดับสินค้ารายโภคภัณฑ์ ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ประเทศไทย พลังงาน ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำและน้ำใช้ในกระบวนการผลิตให้ลูกค้า

ความวุ่นวายทางการเมืองและการรัฐประหาร: จากการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยยังคงเผชิญความตึงเครียดทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความไม่สงบในประเทศ แม้ว่าระดับความรุนแรงของชุมนุมประท้วงจะลดลงในปีที่ผ่านมา โดยความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศประกอบด้วย ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์และทหารในการเมือง (https://acleddata.com/2023/02/23/anti-government-demonstrations-and-separatism-in-thailand-political-disorder-trends-ahead-of-the-2023-general-election/)

การควบคุมหรือกักขังโดยพลการ: สถานการณ์ในประเทศไทยต่างจากปีก่อน โดยภาพรวมไม่มีรายงานว่ารัฐบาลหรือตัวแทนกระทำการควบคุมตัว กักขัง หรือสังหารโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตามยังคงมีการรายงานถึงเหตุการณ์ที่ปะทะระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกองกำลังก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (https://www.state.gov/wp-content/uploads/2023/03/415610_THAILAND-2022-HUMAN-RIGHTS-REPORT.pdf)

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้: ประเทศไทยยังเผชิญปัญหาความรุนแรงภายในประเทศอย่างต่อเนื่องในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู-มุสลิมแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเหตุโจมตีโดยกองกำลังก่อความไม่สงบก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในท้องถิ่นและชุมชนชาวพุทธ

การบังคับบุคคลให้สูญหาย: พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายมีผลใช้บังคับในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการยุติการบังคับบุคคลให้สูญหาย แม้ว่าองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Governmental Organizations: NGO) บางแห่งแสดงความกังวลว่าร่างพระราชบัญญัติจะมีความเคร่งครัดที่อ่อนลงแต่พรรคการเมืองฝ่ายค้านและภาคประชาสังคมโดยทั่วไปถือว่าการผ่านกฎหมายเป็นความสำเร็จที่สำคัญ

ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติ: รัฐบาลมีการร่วมงานกับหน่วยงาน United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน และองค์กรด้านมนุษยธรรมอื่นๆ เพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย บุคคลไร้สัญชาติ และบุคคลอื่น ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลัก

เรื่องสุขภาพและความปลอดภัย: องค์กรควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพและความปลอดภัย และดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและลดผลกระทบ

การรักษาความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยควรครอบคลุมถึงกิจกรรมขององค์กรหรือผู้รับเหมาที่ดำเนินการเพื่อปกป้องทรัพย์สินและรับรองความปลอดภัยของพนักงาน จากการที่โรงไฟฟ้าเป็นเป้าหมายในการประท้วงโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน

ห่วงโซ่อุปทาน: องค์กรอาจเผชิญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานในฐานะผู้ซื้อวัตถุดิบ พนักงานจากองค์กรอื่น ๆ หรือผู้รับเหมา ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติที่ไม่ดีหรือความขัดแย้ง

การจัดหาเชื้อเพลิง: การจัดซื้อเชื้อเพลิงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือชีวมวล

ผลิตภัณฑ์และบริการหลักอื่น ๆ: นอกจากการจัดซื้อวัสดุแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้ายังใช้ผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วงในขั้นตอนดำเนินงานต่าง ๆ

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน: โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าชีวมวล หรือพลังงานหมุนเวียนอาจเป็นแหล่งที่มาของความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานและชุมชนท้องถิ่น

สิทธิในทรัพย์สินและการครอบครองที่ดิน: ชุมชนอาจต้องมีการย้ายถิ่นฐานหากมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นโรงไฟฟ้า ในกรณีดังกล่าว สิทธิที่เกี่ยวข้องกับชุมชนจะรวมถึงที่ดินที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม การเข้าถึงการประมงและการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม ตลอดจนที่ดินสำหรับกิจกรรมของชุมชน

การเข้าถึงทรัพยากร: เนื่องจากการผลิตพลังงานจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก โดยในการผลิตพลังงานต้องใช้น้ำคิดเป็นร้อยละ 15 ของทั่วโลก รวมถึงทรัพยากรอื่น ๆ อีกมากมาย

สุขภาพและความปลอดภัย: สภาพแวดล้อมภายในสถานปฏิบัติงาน โดยเฉพาะสุขภาพและความปลอดภัย

ชุมชน: โรงไฟฟ้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอาจเป็นแหล่งที่มาของความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานและชุมชนท้องถิ่น

Copper production risk: Copper, a commonly used conductor in wind farms for energy generation, emits sulfur and nitrogen dioxide during its production process, contributing to the formation of acid rain.

ห่วงโซ่อุปทาน: การกำหนดมาตรฐานสำหรับผู้รับเหมา/ผู้รับเหมาช่วงที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย (แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ฯลฯ)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เกิดความผันผวนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง เช่น พายุเฮอริเคน ความแห้งแล้ง หรือน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความผันผวนของราคาและการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนและการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาและการเปลี่ยนแปลงของตลาด

3. สิทธิที่จะไม่ตกเป็นทาสและแรงงานบังคับ / สิทธิที่บุคคลไม่ควรถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส รวมทั้งการบังคับใช้แรงงาน (Right not to be subjected to slavery, servitude or forced labor)

8. สิทธิในการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล (Right to access to effective remedies)

15. สิทธิในการคุ้มครองเด็ก / สิทธิในการดูแล ปกป้อง และช่วยเหลือเด็ก (Right of protection for the child)

21. สิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม เพื่อปกป้องประโยชน์ของตน (Right to freedom of association)

24. สิทธิในการทำงาน (Right to work)

25. สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไข การทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ (Right to enjoy just and favorable conditions of work including rest and leisure)

26. สิทธิในการก่อตั้ง เข้าร่วมสหภาพแรงงาน และการผนึกกำลังเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการทำงาน (Right to form trade unions and join the trade unions, and the right to strike)

27. สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี (Right to an adequate standard of living)

28. สิทธิด้านสุขภาพ (Right to health)

35. สิทธิชนกลุ่มน้อย (Rights of minorities)