มาตรการป้องกันและแนวทางจัดการ
[GRI 304-3 (2016)]
เพื่อให้มั่นใจว่าระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณรอบโรงไฟฟ้าได้รับการปกป้องและดูแลอย่างเหมาะสม เอ็กโก กรุ๊ป จึงจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของแต่ละโครงการอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดให้การตรวจสอบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการติดตามและบรรเทาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพื่อการประเมินผลการดำเนินงานประจำปี อีกทั้ง ยังจัดให้มีโครงการเพื่อติดตามหากเกิดกรณีต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อบรรลุตามเจตนารมณ์ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
-
Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA)
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
เครือข่ายพันธมิตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างบทบาทของภาคเอกชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย สร้างความตระหนักรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้วยการสร้างเครือข่าย เพื่อการทำงานในโครงการอนุรักษ์ทั่วประเทศไทย โดยมุ่งเน้นพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพและมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยั่นและเป้าหมายของ Aichi Biodiversity Targets
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและส่งเสริมการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางช่องทางสื่อสารและสื่อเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องขององค์กร
โรงไฟฟ้ามีแผนเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนที่ระบุพิกัดความหลากหลายทางชีวภาพบัญชีสัตว์ป่าที่มีสถานภาพการถูกคุกคามในระดับสูงหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามรายงานสิ่งมีชีวิตตามบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red List Species)
-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
องค์กรมีความเชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้ในด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
โรงไฟฟ้าขนอมดำเนินโครงการสำรวจสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับคณะวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำข้อมูลบันทึกรายการสิ่งมีชีวิตที่สำรวจพบ พร้อมทั้ง ข้อมูลการวิเคราะห์และจำแนกชนิดสิ่งมีชีวิตสำคัญ รายการสิ่งมีชีวิตที่มีความน่าสนใจ (focal species) และมีความสำคัญ (flagship species)
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าขนอมอยู่ในระหว่างการวางแผนดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการต่อยอดจากผลการสำรวจสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพ
-
กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สำนักจัดการความหลากหลาย ทางชีวภาพ (DENR-BMB) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
หน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้อนุรักษ์และจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืน
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
โรงไฟฟ้าเคซอนเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าและโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลตั้งแต่ปี 2550 เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ความเสี่ยงจากการสูญพันธ์ของสัตว์ป่าและเต่าทะเล ด้วยการจัดระบบการติดตามและบันทึกรายการสัตว์ที่พบในบริเวณโรงไฟฟ้า รวมถึงนกต่าง ๆ และเทียบเคียงกับ IUCN Redlist Species พร้อมกันนี้ สำหรับการอนุรักษ์เต่าทะเล โรงไฟฟ้าได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้และฝึกอบรมให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาวประมงที่จะเป็นผู้ถ่ายภาพ วัดขนาดของเต่าทะเลที่พบระบุสายพันธุ์ พร้อมทั้งติดป้าย tag ที่ได้ถูกต้องตามมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบันทึกเพื่อเป็นข้อมูล ก่อนปล่อยสัตว์กลับคืนสู่ทะเล
-
สำนักงานสิ่งแวดล้อมและ มรดก (นิวเซาท์เวลส์)
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
รับผิดชอบในการดูแลและปกป้องสิ่งแวดล้อมและมรดก ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ประเทศอะบอริจิน วัฒนธรรมและมรดก และมรดกที่สร้างขึ้นในนิวเซาท์เวลส์
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
โรงไฟฟ้าพลังงานลมโบโค ร็อค (ประเทศออสเตรเลีย) ดำเนินโครงการ Biodiversity Banking (Bio-bankin) ใน 2 พื้นที่ ได้แก่บริเวณ Lochla พื้นที่ 443.86 เฮกตาร์ และบริเวณ Weerona พื้นที่ 656 เฮกตาร์ เพื่อดำเนินงานหลักตามแนวทางของข้อตกลงการรักษาพื้นที่ Bio-banking ใน 2 ด้านหลัก ได้แก่การให้ทางปศุสัตว์ไปหากิน (Grazing for Conservation) และการกำจัดวัชพืชที่ไม่ต้องการให้มีการแพร่ขยายในพื้นที่ (Weed Control)
-
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
หน่วยงานในกำกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่วิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน รวมถึงให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองระบบคุณภาพ อบรม และเป็นที่ปรึกษา
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
มูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศลซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานโดย เอ็กโก กรุ๊ป ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือเชิงบูรณาการเพื่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม” เพื่อถ่ายทอดผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ส่งเสริมความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ตลอดจนประยุกต์ใช้งานวิจัยด้านป่าไม้ เพื่อดูแลรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นโครงการสืบเนื่องจากปี 2563-2564 ซึ่งมีการร่วมมือเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการเพาะเชื้อเห็ดป่าไมโครไรซาให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการเครือข่ายเยาวชนไทยรักษ์ป่า จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 โรงเรียน
-
กรมป่าไม้
คุณสมบัติของพันธมิตรภายนอก / องค์กร
หน่วยงานในการกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า รวมถึงสนับสนุนการฟื้นฟูสภาพป่า
ขอบเขตการร่วมมือ (ด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ)
มูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศลซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานโดย เอ็กโก กรุ๊ป ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง 5 ปี เรื่อง “การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำและป่าชุมชน” เพื่อบรรลุภารกิจหลัก 6 เรื่อง ได้แก่
- การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ
- การสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ป่าอย่างมีส่วนร่วม
- การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติและระบบสื่อความหมายในพื้นที่ป่านันทนาการ
- การสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้
- การสร้างเครือข่ายชุมชนและเยาวชน เพื่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
- การสนับสนุนงานสำรวจ ศึกษาวิจัย และส่งเสริมบุคคลากร เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
นอกจากนี้ ในปี 2566 เอ็กโก กรุ๊ป ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ได้แก่ มูลนิธิสวนหลวง ร.9 มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (International Conference on Biodiversity: IBD 2023) ขึ้น ภายใต้หัวข้อ Biodiversity: Key to Better Life (ความหลากหลายทางชีวภาพ กุญแจสู่ชีวิตที่ดีขึ้น) เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ความหลากหลายทางชีวภาพ และความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายในงานประกอบไปด้วยการประชุมวิชาการและนิทรรศการ รวมถึงการแสดงงานวิจัยจากสถาบัน ชุมชน มหาวิทยาลัย ภาครัฐ องค์กรไม่แสวงผลกำไร และหน่วยงานภาคเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ เอ็กโก กรุ๊ป ได้ร่วมจัดบูธนิทรรศการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในเวทีสัมมนา ในหัวข้อ “EGCO Group บนเส้นทางของความยั่งยืน สู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” เพื่อร่วมแสดงพลังกับเครือข่ายองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกด้วย