คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
[GRI 401-2 (2016), 404-2 (2016)]
เอ็กโก กรุ๊ป เชื่อว่านอกเหนือไปจากคุณสมบัติที่เหมาะสมแล้ว การบริหารคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้บุคลากรสามารถบริหารจัดการการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันและเติบโตไปพร้อมกับองค์กรด้วย
เอ็กโก กรุ๊ป จึงให้ความสำคัญกับการยกระดับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกคน ทั้งทางร่างกายและจิตใจระหว่างการทำงานร่วมกับองค์กร ตลอดจนหลังเกษียณอายุ ผ่านการจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสม ได้แก่
สวัสดิการเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข
- การยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานด้วยนโยบายการทำงานนอกสำนักงาน (Work from Anywhere) ซึ่งครอบคลุมการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือการทำงานในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานสามารถบริหารเวลาให้ตอบโจทย์การทำงานและชีวิตส่วนตัว
- การยืดหยุ่นเวลาปฏิบัติงาน (Flexible Working Hours) ของพนักงาน โดยการเพิ่มทางเลือกเวลาในการเข้า-ออกงาน
- การพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับบรรยากาศการทำงานโดยนำระบบ Microsoft Teams เข้ามาใช้ในการทำงานมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับพนักงาน
- ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
- ค่าตอบแทนพิเศษ เช่น ค่าทักษะความเชี่ยวชาญพิเศษ (ค่าฝีมือเชื่อม ค่าขับปั้นจั่น เป็นต้น)
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะความสามารถ
- กิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร เช่น การท่องเที่ยวหรือจัดกิจกรรมนอกสถานที่ ต่างจังหวัด กิจกรรมงานปีใหม่ กิจกรรมงานวันสงกรานต์ เป็นต้น
- โครงการทอดกฐินประจำปี
- จัดทำเครื่องชงกาแฟให้พนักงานเพื่อบริการตัวเอง รวมทั้งมีเครื่อง Vending Machine
- การบริหารจัดการความเครียดในที่ทำงาน
- สนับสนุนให้มีการพักผ่อนระหว่างการทำงานเพื่อคลายเครียด โดยมีการจัดเตรียมของว่างและเครื่องดื่มให้
- โครงการ EGCO Mental Health Center by HR เพื่อการดูแลสุขภาพจิต และการให้คำปรึกษา
- จัดการให้คำปรึกษาด้านความเครียด
- จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อที่ทำงานเป็นสุข (Happy Workplace)
- สนับสนุนค่าสื่อสารของพนักงาน เช่น ค่าโทรศัพท์รายเดือน
- ทางเลือกในการทำงานแบบไม่เต็มเวลา (Part-time working options) สำหรับการจ้างที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เช่น การจ้างตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชีตลอด 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อดำเนินการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน
สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยของพนักงาน และคนในครอบครัว
- การประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ทุพพลภาพ และอุบัติเหตุ ของพนักงาน และคนในครอบครัว
- สวัสดิการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อดูแลสุขภาพพนักงาน และตรวจสุขภาพประจำปี โดยในปี 2565 มีการปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นสำหรับสวัสดิการดังกล่าว
- ชมรมกีฬา ห้องออกกำลังกาย และสถานที่ออกกำลังกาย (Sport Club)
- โครงการ I STRONG ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยา
- มุมนมแม่ในสถานประกอบการ (Breast-feeding facilities)
- กระเช้าเยี่ยมไข้พนักงาน
- สวัสดิการสนับสนุนค่าตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลเอกชนสำหรับพนักงานที่เกษียณอายุราชการแล้วในอัตราเทียบเท่าพนักงานปัจจุบัน
สวัสดิการทางการเงิน
- สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สวัสดิการช่วยเหลือค่าคลอดบุตรของพนักงานหญิง ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายสำหรับพนักงานชาย และของขวัญบุตรแรกเกิด
- ทุนการศึกษาบุตร (Childcare contributions)
- สวัสดิการช่วยเหลือเงินกู้กรณีต่าง ๆ เช่น เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย และเงินกู้พิเศษ
- เงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต
- เงินช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัย
สวัสดิการเพื่อผลประโยชน์หลังเกษียณอายุ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- บัญชีเงินฝากเกษียณสุข (อัตราดอกเบี้ยพิเศษ) ภายใต้สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สวัสดิการในการเดินทาง
- การจัดรถบริการรับ-ส่งพนักงาน 2 เส้นทาง คือ สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต-อาคารเอ็กโก และศูนย์ราชการนนทบุรี-อาคารเอ็กโก
- รถประจำตำแหน่ง
- เงินค่าช่วยเหลือยานพาหนะของพนักงาน
วันหยุด และการลาประเภทต่าง ๆ ได้แก่
- วันหยุดประจำปี
- วันลาพักร้อนประจำปี 10 วัน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงาน
- วันลาป่วยตามจริงไม่เกิน 30 วันต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง
- วันลากิจ 6 วันต่อปี
- วันลาที่ได้รับค่าจ้างเพื่อเลี้ยงดูบุตร หรือวันลาคลอดบุตรสำหรับผู้ดูแลหลัก ผู้ดูแลหลัก คือ บุคคลที่รับผิดชอบหลักในการดูแลและเลี้ยงดูบุตร การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรของผู้ดูแลหลักคือทั้งหมด 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วันตามกฎหมาย
- วันลาที่ได้รับค่าจ้างเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลหลัก ผู้ดูแลที่ไม่ใช่ผู้ดูแลหลัก คือ บุคคลที่มีความรับผิดชอบในการดูแลบุตรแต่ไม่ได้มีความรับผิดชอบหลักในการดูแลและเลี้ยงดูบุตร ผู้ไม่ได้เป็นผู้ดูแลหลักสามารถลาแบบมีค่าจ้างได้ 5 วัน เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลหลัก รวมถึงสามารถใช้สิทธิลาพักรอ้น 10 วัน และลากิจ 6 วัน รวมแล้วสามารถใช้วันหยุดเพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้ 21 วัน
- วันลาที่ได้รับค่าจ้างเพื่อดูแลครอบครัว นอกเหนือจากวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถลาเพื่อดูแลบุตร คู่สมรส คู่ครอง ผู้พึ่งพา ผู้ปกครอง พี่น้อง หรือญาติที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เนื่องจากปัญหาสุขภาพ พนักงานมีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ไม่เกิน 16 วันต่อปี
- วันลาอุปสมบทหรือวันประกอบพิธีฮัจญ์
- วันลาปฏิบัติธรรม
- วันลาเพื่อรับราชการทหาร
- วันลาเพื่อทำหมัน
- วันลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะ