ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นเลิศ
โอกาสและความท้าทาย
ในฐานะบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ เอ็กโก กรุ๊ป มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพและเสถียรภาพของกำลังการผลิตไฟฟ้าในเชิง “นิเวศเศรษฐกิจ” เพื่อความเป็นเลิศในกลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคพลังงาน โดยมุ่งเน้นการลงทุนในการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงแต่มีมลพิษต่ำ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงสะอาด พลังงานคาร์บอนต่ำ และพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่น ๆ
เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปตามที่วางแผนไว้ และสามารถส่งมอบไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตามสัญญา เอ็กโก กรุ๊ป จึงขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ ตลอดจนสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้ไฟฟ้า โดยนอกจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่หลากหลายแล้ว เอ็กโก กรุ๊ป ยังกระจายศูนย์การผลิตพลังงานผ่านการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตที่แตกต่างกันไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
พนักงาน
ลูกค้า
ชุมชน
นักลงทุน
แนวทางการบริหารจัดการ
เป้าหมายการควบคุมเสถียรภาพและความพร้อมของการผลิตไฟฟ้า
-
เป้าหมายปี 2570: ค่าความพร้อมจ่าย
-
เป้าหมายปี 2570: อัตราความร้อน
-
ค่าความพร้อมจ่าย
-
อัตราความร้อน
-
ค่าความพร้อมจ่าย
-
อัตราความร้อน
*ผลการดำเนินงานนี้ครอบคลุมบริษัทย่อยของเอ็กโก กรุ๊ป และการร่วมค้า 100%
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นเลิศ
เอ็กโก กรุ๊ป มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าขององค์กรเพื่อเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีความเป็นเลิศ โดยหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น โรงไฟฟ้าขนอมได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโซลูชันที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่าง TOMONI™ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงไฟฟ้าโดยการเพิ่มอุณหภูมิก๊าซไอเสียของ Gas Turbine ลดการใช้พลังงาน ตลอดจนทำให้โรงไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้เร็วขึ้นจึงเพิ่มค่าความพร้อมในการเดินเครื่องจักรและหลีกเลี่ยงการหยุดนอกแผน นอกจากนี้ เอ็กโก กรุ๊ป ยังดำเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงานของเครื่องจักรในแต่ละโรงไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงประสิทธิภาพการผลิตของโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งกำหนดค่าการควบคุมเสถียรภาพเป็นดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicator: KPI) ของโรงไฟฟ้า และใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำโรงไฟฟ้า

สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าปี 2565
สัดส่วนการผลิตทั้งหมด (กิกะวัตต์ชั่วโมง)
สัดส่วนการผลิตทั้งหมดของธุรกิจที่เป็นเจ้าของ (กิกะวัตต์ชั่วโมง)
หมายเหตุ:
ธุรกิจที่เป็นเจ้าของ = สัดส่วนการผลิตทั้งหมด (ไม่รวมการร่วมค้าในประเทศไทย)
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย:
พลังงานลม | 406 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (1.64%) |
พลังงานน้ำ | 2,624 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (10.63%) |
พลังงานแสงอาทิตย์ | 110 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (0.45%) |
พลังงานชีวมวล | 46 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (0.19%) |
พลังงานความร้อนใต้พิภพ | 1,428 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (5.79%) |
รวมทั้งหมด | 4,614 กิกะวัตต์ชั่วโมง | (18.70%) |
รายได้จากการผลิตไฟฟ้า ปี 2565
รายได้ทั้งหมดจากการผลิตไฟฟ้า (บาท)
รายได้จากการผลิตไฟฟ้า (บาท)
หมายเหตุ:
ธุรกิจที่เป็นเจ้าของ = สัดส่วนการผลิตทั้งหมด (ไม่รวมการร่วมค้าในประเทศไทย)
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย:
พลังงานลม | 2,322,103,886 บาท | (3.51%) |
พลังงานน้ำ | 1,777,523,527 บาท | (2.68%) |
พลังงานแสงอาทิตย์ | 1,586,674,039 บาท | (2.40%) |
พลังงานชีวมวล | 269,101,009 บาท | (0.41%) |
พลังงานความร้อนใต้พิภพ | 1,149,698,922 บาท | (1.74%) |
รวมทั้งหมด | 7,105,101,384 | (10.74%) |
กำลังการผลิตไฟฟ้า ปี 2565
สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด (เมกะวัตต์)
สัดส่วนกำลังการผลิตของธุรกิจที่เป็นเจ้าของ (เมกะวัตต์)
หมายเหตุ:
ธุรกิจที่เป็นเจ้าของ = สัดส่วนการผลิตทั้งหมด (ไม่รวมการร่วมค้าในประเทศไทย)
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย:
พลังงานลม | 200 เมกะวัตต์ | (4.81%) |
พลังงานน้ำ | 535 เมกะวัตต์ | (12.85%) |
พลังงานแสงอาทิตย์ | 58 เมกะวัตต์ | (1.39%) |
พลังงานชีวมวล | 6 เมกะวัตต์ | (0.14%) |
พลังงานความร้อนใต้พิภพ | 175 เมกะวัตต์ | (4.20%) |
รวมทั้งหมด | 974 เมกะวัตต์ | (23.40%) |
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
ปรับปรุง ณ เดือนมีนาคม ปี 2566
เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐาน The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance) ภายใต้รายงานประจำปี 2565