เอ็กโก กรุ๊ป ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งกิจกรรมทางตรงที่ เอ็กโก กรุ๊ป ดำเนินการเอง และทางอ้อมผ่านการดำเนินงานของคู่ค้า รวมไปถึงกิจการร่วมค้า

ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงาน
  • แรงงานบังคับ
  • การค้ามนุษย์
  • แรงงานเด็ก
  • เสรีภาพในการสมาคม
  • สิทธิในการเจรจาต่อรอง
  • การจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน
  • การไม่เลือกปฏิบัติ
  • สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
  • สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • ความโปร่งใสและการต่อต้านคอร์รัปชั่น
  • คุณภาพและมาตรฐานการดำรงชีวิต
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิในทรัพย์สิน
  • การจัดการความปลอดภัย
  • ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (เช่น การใช้น้ำ การปล่อยน้ำ มลพิษทางอากาศ กลิ่น เสียง การจัดการของเสีย และความหลากหลายทางชีวภาพ)
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

เอ็กโก กรุ๊ป พิจารณาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ถือครองสิทธิจาก 2 ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบ ได้แก่

  1. โอกาสที่จะเกิดขึ้น
  2. ระดับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานต่อผู้ถือครองสิทธิ

โดยกลุ่มผู้ถือครองสิทธิที่กลุ่มเอ็กโกพิจารณา ประกอบด้วย

  • พนักงาน
  • เจ้าหนี้
  • นักลงทุน
  • สื่อมวลชน
  • ลูกค้า
  • คู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ (รวมถึงพนักงานของคู่ค้า)
  • หน่วยงานราชการ
  • หน่วยงานกำกับดูแลสังคม
  • องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  • กลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานอพยพ ผู้รับเหมา และชุมชน
  • กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ด้อยโอกาส อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และเพศทางเลือก
จัดทำมาตรการควบคุม

จัดทำมาตรการควบคุมและบรรเทาผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง โดยมาตรการที่ได้พัฒนาขึ้นจะถูกนำมาใช้กับโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่สุด

ทบทวนความเสี่ยงของผลกระทบ

ทบทวนความเสี่ยงของผลกระทบและติดตามประสิทธิผลของมาตรการควบคุมอย่างสม่ำเสมอ

เกณฑ์การประเมินพิจารณา