[GRI 2-28 (2021)]

ตลอดมา เอ็กโก กรุ๊ป มีการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และยึดมั่นในเจตนารมณ์ที่ว่า “การคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการทำธุรกรรมทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชน” ดังนั้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงมีการระบุแนวทางในการบริจาคและการให้การสนับสนุน หรือระเบียบในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรภายนอกต่าง ๆ ซึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน โดยต้องเป็นไปตามกฎหมาย โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และสนับสนุนความก้าวหน้าในการพัฒนาธุรกิจของ เอ็กโก กรุ๊ป ให้มีความยั่งยืนตามพันธกิจขององค์กร

เครือข่ายภาคพลังงาน และความยั่งยืน

เครือข่าย คุณค่า และการมีส่วนร่วมของเอ็กโก กรุ๊ป

สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (TESIA)

  • ร่วมส่งเสริมเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย
  • แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ งานวิจัยเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรม
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก
  • ประกอบกิจกรรมที่เป็นสาธารณะประโยชน์

สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT)

  • ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและบุคลากรเพื่อการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม และปิโตรเคมี
  • ร่วมส่งเสริมการวิจัย ตลอดจนดำเนินธุรกิจตามกฎหมายของธุรกิจปิโตรเลียม

สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (APPP)

  • ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมสัมพันธภาพเครือข่ายด้านพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศไทย
  • ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดจริยธรรมในการดำเนินงาน รวมถึงด้านความรับผิดชอบของสังคมตามวัตถุประสงค์ของสมาคม

กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

  • ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้

สภาระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (CIGRE)

  • ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคในการผลิต การส่ง และการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านไฟฟ้าแรงสูง

หอการค้าไทย

  • ร่วมส่งเสริม สนับสนุน และปฏิบัติตามการจัดระเบียบการค้า ตลอดจนปกป้องรักษาผลประโยชน์ทางด้านการค้า และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตในตลาดโลก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI)

  • ร่วมสนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ ร่วมกับเอกชนอื่น ๆ

องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)

  • ร่วมส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรและประเทศไทย

สมาคมบริษัทจดทะเบียนประเทศไทย

  • ร่วมเป็นสมาชิก และสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาบริษัทจดทะเบียนไทยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้ กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)

  • ดำเนินธุรกิจตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และทิศทางของประเทศด้านสิ่งแวดล้อม
  • ร่วมส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)

  • สนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน อาทิ เป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN Sustainable Development Goals) และหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact
  • ยกระดับการบริหารจัดการประเด็นทางด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นระบบ ตามหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact

เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

  • สนับสนุนและสร้างความร่วมมือในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างภาครัฐ เอกชนอื่นๆ และภาคท้องถิ่น ชุมชน เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกภายใต้เป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Thailand Bio-Diversity Network (B-DNA) Alliance

  • สนับสนุนและเสริมสร้างบทบาทของบริษัทในการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพของไอจิ B-DNA

ประเด็นที่ เอ็กโก กรุ๊ป ให้การสนับสนุน

  • การส่งเสริมและเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

    แนวทางของเอ็กโก กรุ๊ป

    • ให้การสนับสนุน

    จำนวนเงินที่เอ็กโก กรุ๊ป สนับสนุนในปี 2565

    538,750 บาท

    การมีส่วนร่วมของเอ็กโก กรุ๊ป

    เอ็กโก กรุ๊ป เข้าร่วมและให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสถาพภูมิอากาศ เพื่อยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจพลังงาน รวมถึงสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ โดยปัจจุบัน เอ็กโก กรุ๊ป ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ

  • การส่งเสริมเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้า

    แนวทางของเอ็กโก กรุ๊ป

    • ให้การสนับสนุน

    จำนวนเงินที่เอ็กโก กรุ๊ป สนับสนุนในปี 2565

    299,211.62 บาท

    การมีส่วนร่วมของเอ็กโก กรุ๊ป

    เอ็กโก กรุ๊ป เข้าร่วมและให้การสนับสนุนสมาคมการค้าต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า นอกจากนี้ เอ็กโก กรุ๊ป เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (Electricity Supply Industry Association of Thailand, TESIA) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริม แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก ประกอบกับดูแลรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงทางอาชีพให้แก่สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งหรือจำหน่ายไฟฟ้า โดยปัจจุบันเอ็กโก กรุ๊ป มีผู้แทน 2 ท่าน ดำรงตำแหน่งอุปนายกคนที่ 1 และคณะกรรมการสมาคม

    โดยในปี 2565 เอ็กโก กรุ๊ป ได้ร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการออนไลน์ Electricity Supply Industry Conference 2022 หัวข้อเรื่อง อุตสาหกรรมไฟฟ้า – ก้าวใหม่ของการมีรูปแบบความเป็นกลางทางคาร์บอน (Electricity Supply Industry – Moving Toward to Carbon Neutral) และงานเสวนา Panel Discussion ถึงทิศทางอุตสาหกรรมไฟฟ้าเพื่อรองรับ Carbon Neutral

    อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายด้านความยั่งยืนในระดับสากล

UN Global Compact

เอ็กโก กรุ๊ป เข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ในปี 2565 เพื่อสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UNGC ที่ครอบคลุมประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ตลอดจนได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าประจำปี (Communication on Progress: CoP) ที่สอดคล้องกับการรายงานความยั่งยืนของบริษัทให้แก่ UNGC เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักการ 10 ประการ และ SDG Goals

หนังสือแสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UNGC และ SDG Goals

Sustainability Report 2021

หลักการ 10 ประการของ UN Global Compact

สิทธิมนุษยชน
หลักการที่ 1:
สนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศใช้ในระดับสากล
หลักการที่ 2:
หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
มาตรฐานแรงงาน
หลักการที่ 3:
ส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของพนักงานและการรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองอย่างจริงจัง
หลักการที่ 4:
ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเกณฑ์ และแรงงานที่ใช้การบังคับในทุกรูปแบบ
หลักการที่ 5:
ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง
หลักการที่ 6:
ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ
การปกป้องสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 7:
สนับสนุนแนวทางการป้องกันในการดำเนินงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 8:
จัดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 9:
ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อต้านการทุจริต
หลักการที่ 10:
ดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทุจริต การกรรโชก และการให้สินบนทุกรูปแบบ
รายงานความก้าวหน้าประจำปี 2565 ของเอ็กโก กรุ๊ป
อ่านเพิ่มเติม
รายงานความก้าวหน้าประจำปี 2564 (Communication on Progress: CoP)
Criterion Description One Report 2021 (Page)/ EGCO Website
1 The CoP describes mainstreaming into corporate functions and business units.
2 The CoP describes value chain implementation.
3 The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of human rights.

 

4 The CoP describes effective management systems to integrate the human rights principles.
5 The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms of human rights integration.
6 The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of labor.
7 The CoP describes effective management systems to integrate the labor principles.
8 The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms of labor principles integration.
9 The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of environmental stewardship
10 The CoP describes effective management systems to integrate the environmental principles.
11 The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms for environmental stewardship.
12 The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of anti-corruption.
13 The CoP describes effective management systems to integrate the anti-corruption principles.
14 The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms for the integration of anti-corruption.
15 The CoP describes core business contributions to UN goals and issues.
16 The CoP describes strategic social investments and philanthropy.
17 The CoP describes advocacy and public policy engagement.
18 The CoP describes partnership and collective action.
19 The CoP describes CEO commitment and leadership.
20 The CoP describes Board adoption and oversight.
21 The CoP describes stakeholder engagement.