ภาพรวมการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
โอกาสและความท้าทาย
ในปัจจุบัน ภาคสาธารณูปโภค โดยเฉพาะธุรกิจผลิตไฟฟ้า กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาสมดุลระหว่างความต้องการพลังงานและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียน แม้ว่าจะช่วยลดการปล่อยมลพิษ แต่โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น กังหันลม เขื่อนพลังน้ำ และโซลาร์เซลล์ อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต การวางแผนและดำเนินการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
เอ็กโก กรุ๊ป ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ประกาศเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยดำเนินโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านโรงไฟฟ้าและมูลนิธิไทยรักษ์ป่า กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ การอนุรักษ์สัตว์ประจำถิ่น และการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน: ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลกระทบต่อมีผู้ส่วนได้เสียในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
ชุมชน
สื่อมวลชน
แนวทางการบริหารจัดการ
เป้าหมายและการแสดงเจตจำนงการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ หรือ No Net Loss เมื่อเทียบกับปี 2564 ภายในปี 2573 และมุ่งมั่นที่จะป้องกันและลดผลกระทบจากกิจกรรมของเอ็กโกตลอดทั้งวัฏจักรการดําเนินงานของโรงไฟฟ้า
-
สร้างผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิเชิงบวก หรือ Net Positive Impact ในทุกการดําเนินงานและตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของเอ็กโก
-
หลีกเลี่ยงการดําเนินงาน การสํารวจ การควบรวมและการเข้าซื้อกิจการในพื้นที่มรดกโลกและพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองหมวด I-IV ของมาตรฐานที่กําหนดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN)
-
ไม่มีการทําลายป่าไม้ (No Gross Deforestation) ในทุกการดําเนินงานและห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของเอ็กโกภายในปี 2573 ซึ่งรวมไปถึง ไม่ทําลายป่าไม้ธรรมชาติรวมถึงป่าไม้ที่มีค่าคาร์บอนสูง ไม่เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและพื้นที่พรุที่ความลึกใด ๆ รวมถึงคุ้มครองป่าไม้ธรรมชาติและระบบนิเวศภายในพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลของ เอ็กโก กรุ๊ป
-
โรงไฟฟ้าในเครือ เอ็กโก ร้อยละ 100 มีการกำหนดเป้าหมาย Net Gain จากการดำเนินงานในระดับโครงการด้านการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ (No Net Loss) จากการดำเนินงานตามมาตรการ และแผนป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว
-
ดำเนินโครงการสำรวจสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพโรงไฟฟ้าขนอมต่อเนื่องจากปี 2563 เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อสัตว์ ประมาณขนาดประชากร สถานภาพด้านการอนุรักษ์ และคุณค่าเชิงนิเวศวิทยา โดยครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2546 CITES IUCN Red Data Book (2015) สัตว์ป่าที่มีเฉพาะถิ่น และสัตว์ชนิดที่ไม่เคยมีรายงานการพบมาก่อน
-
เข้าร่วมการฝึกอบรมและกิจกรรมของเครือข่ายทางธุรกิจ เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่มีพันธกิจในการขับเคลื่อนความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปกป้องฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ต่างๆ พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวให้กับโรงไฟฟ้าใน เอ็กโก กรุ๊ป
-
ทบทวนและปรับปรุงคำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Statement of Commitments) พร้อมทั้ง กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษรและสื่อสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกัน

การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
เอ็กโก กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในทุกพื้นที่ที่ดำเนินการขององค์กร จึงประกาศคำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเป็นหลักการในการดำเนินงานขั้นพื้นฐานสำหรับโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว และโครงการใหม่
อ่านเพิ่มเติม
การประเมินความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
[GRI 304-1 (2016), 304-2 (2016), 304-3 (2016)]
เอ็กโก กรุ๊ป ได้พัฒนาคู่มือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพและสังคม (Environmental and Social Management System) ตั้งแต่ปี 2563
อ่านเพิ่มเติม
มาตรการป้องกันและแนวทางจัดการ
[GRI 304-3 (2016)]
เพื่อให้มั่นใจว่าระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณรอบโรงไฟฟ้าได้รับการปกป้องและดูแลอย่างเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ปรับปรุง ณ เดือนพฤษภาคม ปี 2568
เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐาน The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance) ภายใต้รายงานประจำปี 2567