ภาพรวมกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศและโอกาสทางการตลาด
โอกาสและความท้าทาย
ในปัจจุบัน โลกเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งถึงแม้จะมีความตื่นตัวเกิดขึ้นในหลาย ๆ ภาคส่วน แต่ก็ยังพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกแทบไม่ได้ลดลงจากเดิมนัก โดยธุรกิจผลิตไฟฟ้าและพลังงานก็มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจนี้จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อโลก เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนเมาแทนที่การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของภาคธุรกิจการผลิตไฟฟ้า ผนวกกับการดำเนินงานอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ หรือการรักษาระบบนิเวศให้ไม่ถูกทำลายท่ามกลางสภาพภูมิอากาศอันแปรปรวนนี้
เอ็กโก กรุ๊ป ตระหนักดีถึงความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โลกกำลังเผชิญอยู่ จึงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานขององค์กรจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแสวงหาแนวทางการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงานทางเลือกในอนาคต หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการสร้างผลประกอบการที่แข็งแกร่งให้แก่องค์กรได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้สมดุลเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน การเพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องทุกปี และการก่อตั้งมูลนิธิไทยรักษ์ป่าเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำสำคัญของประเทศมานานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มของทิศทางพลังงานโลกในปัจจุบัน และประเทศไทยได้ประกาศในเวทีการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ว่าจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และบรรลุการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 นั้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้ปรับการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าวและมีความท้าทายเพิ่มขึ้น เช่น ในปี 2566 ประกาศนโยบายไม่ลงทุนในโรงไฟฟ้าและธุรกิจถ่านหินเพิ่มเติม (No Coal Policy) และมุ่งมั่นที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและก๊าซเรือนกระจก (Climate Change & GHG Emission)
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
หน่วยงานราชการ และหน่วยงานกำกับดูแล
สังคม
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
นักลงทุน
กลุ่มผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้
แนวทางการบริหารจัดการ
เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เอ็กโกอยู่ระหว่างการขอรับรองเป้าหมายจาก SBTi ทั้งเป้าหมายระยะสั้นและเป้าหมายระยะยาวเพื่อทำให้คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งรวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1, 2 และ 3
https://sciencebasedtargets.org/companies-taking-action#dashboardกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เอ็กโก กรุ๊ป กำหนดให้กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นส่วนหนึ่งของทิศทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน คือ “Cleaner, Smarter and Stronger to Drive Sustainable Growth”
อ่านเพิ่มเติมการจัดการสัดส่วนการลงทุน
เอ็กโก กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการจัดการสัดส่วนการลงทุน (Resilient Portfolio) โดยเน้นการขยายสัดส่วนธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และลดสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคาร์บอนสูง
อ่านเพิ่มเติมธุรกิจนวัตกรรม
เอ็กโก กรุ๊ป มีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง โดยขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมและสร้างกระบวนการทำงานอย่างยั่งยืนให้พร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
อ่านเพิ่มเติมการดำเนินโครงการต่าง ๆ
เอ็กโก กรุ๊ป ส่งเสริมการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงและโอกาศที่เกี่ยวกับสภาพภูมีอากาศ
อ่านเพิ่มเติมกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD)
[TCFD]
เอ็กโก กรุ๊ป ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศโดยสมัครใจ โดยอ้างอิงรูปแบบการรายงานตามกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD)
อ่านเพิ่มเติมคาร์บอนเครดิตและการดักจับคาร์บอน
เอ็กโก กรุ๊ป พร้อมด้วยโรงไฟฟ้าในเครือ และมูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศลที่ เอ็กโก กรุ๊ป ก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงาน ด้วยพันธกิจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืน จึงได้ดำเนินโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
ปรับปรุง ณ เดือนเมษายน 2567
เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐาน The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance) ภายใต้รายงานประจำปี 2566