การดำเนินการด้านความยั่งยืน
โครงการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2564
Thermal & Visual Drone Inspection
เพื่อลดความเสี่ยง ระยะเวลา และค่าใช่จ่ายให้การตรวจสอบความผิดปกติในงานทางวิศวกรรมที่ต้องให้บุคลากรใช้เครื่องวัดความร้อนส่องทีละจุด ดังนั้น จึงเกิดเป็นนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ที่ให้บริการตรวจสอบโดยสมาร์ทโดรน (Smart Drone) ที่มีคุณสมบัติวัดค่าความร้อนและถ่ายภาพวีดีโอ และจัดทำ Software เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลแบบ Real time ไปยังผู้ควบคุมโดรน (Drone driver) ห้องควบคุม (Central room) และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งเก็บข้อมูลไว้ในคลาวด์ (Cloud) ทั้งนี้ เมื่อตรวจพบความผิดปกติของงานทางวิศวกรรม โดรนจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลภาพและตำแหน่งผิดปกติไปยังผู้เกี่ยวข้องทันที รวมทั้งสรุปรายงานผลการตรวจสอบทั้งหมดไว้ด้วย
รูปแบบธุรกิจ และผลลัพธ์: นวัตกรรมการให้บริการตรวจสอบโดยโดรนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติในงานทางวิศวกรรม เช่น สายส่งไฟฟ้าแรงสูง แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า และเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยคาดการมูลค่าทางการตลาดถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งการให้บริการโดยโดรนจะส่งผลให้การตรวจสอบนั้นรวดเร็วขึ้นกว่า 10-30 เท่า และมีค่าใช้จ่ายน้อยลง 5-10 เท่าเมื่อเทียบกับการตรวจสอบโดยบุคลากรผ่านการใช้เครื่องวัดความร้อนส่องทีละจุด และยังเป็นการใช้พลังงานสะอาดเนื่องจากโดรนนั้นใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานสะอาดขับเคลื่อน นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบอื่น ๆ เช่น งานรักษาความปลอดภัย งานกู้ภัย งานประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ได้อีกด้วย
EV KLU MINI Bike
เพื่อให้สอดคล้องตามกระแสโลกและความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นนวัตกรรมการสร้างและเปิดตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
รูปแบบธุรกิจ และผลลัพธ์: นวัตกรรมรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเกิดจากการออกแบบและประกอบโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในโรงไฟฟ้าของ เอ็กโก กรุ๊ป ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้านั้นคือความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย 10 เท่าเมื่อเทียบกับมอเตอร์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง และมีค่าบำรุงรักษาต่ำเพราะไม่ต้องเติมน้ำมันเครื่องเหมือนเครื่องยนต์น้ำมันทั่วไป นอกจากนี้ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ายังสามารถใช้ควบคู่กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทางเลือกอื่น ๆ ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสทางธุรกิจโดยการจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถปรับแต่งอุปกรณ์ตามความต้องการของลูกค้าและตามลักษณะการใช้งาน รวมถึงเป็นที่ต้องการในกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ สามารถอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางให้แก่ผู้สูงอายุ และนำไปเป็นรถถ่ายทำภาพยนตร์ในกองถ่าย เป็นต้น
One Stop Service Energy Platform
เพื่อตอบสนองต่อแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมพลังงานในอนาคตที่อาจทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อขายไฟฟ้ากันเองในรูปแบบ Peer to Peer เลยทำให้โอกาสในตลาดเปิดกว้างสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่ต้องการส่วนแบ่งทางการตลาด จึงเกิดเป็นโมเดลธุรกิจที่จะสร้าง Business Platform ด้านพลังงานในรูปแบบ One Stop Service ผ่านแอพพลิเคชั่นที่ครบวงจรที่สุด
รูปแบบธุรกิจ และผลลัพธ์: การสร้าง Business Platform ครั้งนี้คือการสร้างรูปแบบธุรกิจที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าหรือให้บริการด้านการไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งรายย่อยและโรงไฟฟ้า เข้ากับประชาชน อาคารสำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ไฟฟ้า โดยในทุกการซื้อขาย เอ็กโก กรุ๊ป ในฐานะคนกลางจะเก็บรายได้จากร้านค้าและค่าคอมมิชชั่นสำหรับทุกการแลกเปลี่ยนพลังงาน ซึ่งสามารถลดต้นทุน/สร้างรายได้ประมาณ 30 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้จากแนวคิด Market Place และ Energy Trading แบบ Peer to Peer ยังได้รับผลประโยชน์มากมาย เช่น สร้าง Prosumer หรือผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Rooftop เข้าระบบให้มากขึ้น ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รับประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต และสอดคล้องกับนโยบายของ เอ็กโก กรุ๊ป ที่ต้องการลด การปล่อยก๊าซคาร์บอน ภายในปี 2593
Khanom Solar Floating
เนื่องจากอ่างเก็บน้ำดิบ (อ่างเก็บน้ำบ้านกลาง) ของโรงไฟฟ้าขนอมอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล (ประมาณ 9 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า) เลยอาจเกิดปัญหาไม่มีไฟฟ้าในบางช่วงสำหรับเปิดประตูระบายน้ำได้ทันส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่รอบอ่างและในชุมชนใกล้เคียง อีกทั้งในช่วงหน้าร้อนจะเกิดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์ที่ระเหยจากอ่างไปเป็นจำนวนมาก ประมาณ 1 เซนติเมตรต่อวัน ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะใช้ประโยชน์จากการนำพื้นที่ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำมาติดตั้ง Solar Floating เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับเดินปั๊มสูบน้ำ เปิดปิดประตูน้ำในคลองกรณีฉุกเฉินในช่วงหน้าฝน และลดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ของชาวบ้าน
ผลที่ได้รับ: สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้กับปั๊มสูบน้ำผิวดินจากคลองสาธารณะเพื่อส่งไปยังอ่างเก็บน้ำในโรงไฟฟ้าสำหรับผลิตเป็นน้ำอุปโภค-บริโภคและน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า อีกทั้งนวัตกรรม Solar Floating คือการผลิตพลังงานสะอาดที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับการผลิตโดยใช้พลังงานสิ้นเปลือง (Non-renewable Energy) รวมถึงสอดคล้องกับแผนการลงทุนของ เอ็กโก กรุ๊ป โดยธุรกิจนี้สามารถนำไปลงทุนในต่างประเทศกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเครือ และยังตอบสนองเป็นโครงการลดการปล่อย CO2 ของบริษัท นอกจากนี้ จากโมเดลของ Khanom Solar Floating ได้มีการพัฒนาต่อยอดสร้างธุรกิจใหม่เพื่อติดตั้ง Solar Floating บนอ่างเก็บน้ำของบริษัทภายนอก โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำในโรงงานและทางเกษตร เป็นต้น
Internal Optimization: Modify Common Line of Auxiliary Steam
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าประเภท Single Shaft Combined Cycle ที่เป็นแบบ Standby Condenser มีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง Vacuum ใน Condenser ก่อนทุกครั้งที่จะ Start-up โรงไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้ Auxiliary Boiler ผลิต Auxiliary Steam เป็น Seal ที่บริเวณ Steam Turbine Gland เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้าไปใน Steam Turbine และ Condenser ได้ ทั้งนี้กระบวนการทั้งหมดใช้เวลานานถึง 3.5-4 ชั่วโมง จึงเกิดแนวทางติดตั้ง Common Line โดยนำ Steam ที่ Tap มาจาก HRSG Cold Reheat Steam (CRH Steam) ของโรงไฟฟ้าที่กำลังเดินเครื่องอยู่มาใช้แทน Auxiliary Steam
ผลที่ได้รับ: การติดตั้ง Common Line โดยใช้ CRH Steam สามารถลดระยะเวลาในการผลิต Auxiliary Steam จาก Auxiliary Boiler ซึ่งทำให้การ Start-up โรงไฟฟ้ารวมถึงการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้เร็วขึ้นจึงส่งผลให้สามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้ 2.40 ล้านบาท นอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิง ค่าสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต Auxiliary Steam จาก Auxiliary Boiler ค่าการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ ค่าจ้างบุคลากรของทั้งหน่วยงานเดินเครื่องและซ่อมบำรุง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.00 ล้านบาท รวมไปถึงช่วยลดมลพิษไอเสียที่ปลดปล่อยสู่บรรยากาศอีกด้วย
KitchenDe
การสร้าง platform “คิทเช่นดี” ผ่านช่องทาง Line Official Account @KitchenDe และแอปพลิเคชัน KitchenDe เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกในการจ่ายตลาดในปัจจุบันที่ประหยัดเวลา เพิ่มโอกาสในการกระจายผลผลิต ผ่านการให้บริการช่วยซื้อของสด โดยมีเจ๊ใหญ่ เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้า อาทิ ผู้ประกอบการร้านอาหาร และตลาดสด ในการบริหารจัดการออเดอร์ และจ่ายตลาด โดยจุดเด่นของ KitchenDe คือ การรักษาคุณภาพของออเดอร์ คัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพ และจัดส่งวัตถุดิบถึงมือลูกค้า
ผลที่ได้รับ: การใช้ platform นี้สามารถประหยัดเวลา และการเดินทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยผลที่ได้รับ