มิถุนายน 2565

โครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน (SAFETY TRAINING PROJECT)

ปี 2565

โครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

นอกจากกระบวนการบริหารงานและการผลิตไฟฟ้าที่ปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกแล้ว การสร้างความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานที่ดีทั้งต่อพนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมาตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ยังเป็นหลักในการทำงานที่สำคัญของ เอ็กโก กรุ๊ป อีกด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานสามารถปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน เอ็กโก กรุ๊ป มีการจัดฝึกอบรมและทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในโรงไฟฟ้าและพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน

การกำหนดมาตรการเพื่อรับมือสภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น อุบัติภัยทางธรรมชาติ หรือ สาธารณภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรสามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้กำหนดให้การเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็นภารกิจหลักเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยให้มีการจัดทำระบบเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และจัดให้มีการเตรียมโครงสร้างระบบบัญชาการสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งการสั่งการ การประสานงาน การสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน การติดตามผลการปฏิบัติงาน การจัดทำแผน ตลอดจนการซักซ้อม หรือการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในทุกระดับ เพื่อสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

เอ็กโก กรุ๊ป ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในสภาวะฉุกเฉิน โดยมุ่งเน้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การฝึกอบรมประกอบด้วย

  • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • การประเมินความเสี่ยง และการทำบัญชีแผนฉุกเฉิน
  • การสื่อสารและการบริหารแผนฉุกเฉิน
  • การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ
  • การทบทวนฝ่ายบริหาร

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถกำหนดมาตรการรับมือกับสภาวะฉุกเฉิน เพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบต่อบุคคล ทรัพย์สิน การผลิต และสิ่งแวดล้อมได้
  • หน่วยงานมีความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองและฟื้นฟูเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความต่อเนื่อง
  • มาตรการในการรับมือกับสภาวะฉุกเฉิน สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานสากล ISO 14001:2015 (4.4.7 การเตรียมความพร้อมและตอบสนองเหตุการณ์ฉุกเฉิน) ISO 45001:2018 (8.2 Emergency Preparedness and Response)

แนวทางการดำเนินงาน

  • การฝึกอบรมให้ความรู้ในสำหรับแผนตรียมความพร้อมในสภาวะฉุกเฉิน ผ่านการฝึกอบรมเป็นเวลา 2 วัน
  • การฝึกอบรมประกอบด้วย การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ การฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์สภานการณ์ร่วมกัน

ผลการดำเนินงานในปี 2565

คณะทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานประจำโรงไฟฟ้าที่เข้าฝึกอบรม จำนวน 40 คน

โครงการ ฝึกหลักสูตรกฎหมายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ในปี 2565 เอ็กโก กรุ๊ป ได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญภายใต้กฎหมาย โดยเนื้อหาการฝึกอบรมครอบคลุมกฎหมายดังนี้

  • พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. 2564
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565
  • กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ผู้ปฏิบัติงานของ เอ็กโก กรุ๊ป สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยพร้อมทั้งสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง

Implementation Approach

  • การฝึกอบรมแบบออนไลน์ จำนวน 6 ชั่วโมง กับวิทยากรจากสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน

ผลการดำเนินงานในปี 2565

คณะทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานประจำโรงไฟฟ้าที่เข้าฝึกอบรม จำนวน 30 คน

โครงการ ฝึกหลักสูตรการสร้างจิตสำนึกในการทำงานด้วยความปลอดภัย

นอกเหนือจากกฎหมายด้านความปลอดภัย แนวปฏิบัติที่ดีและกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในสถานประกอบการแล้ว การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยที่ดีให้แก่พนักงานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย

ดังนั้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้จัดหลักสูตรการอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการทำงานด้วยความปลอดภัย (Safety Awareness) แก่ผู้ปฏิบัติงานและลูกจ้างของโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าบ้านโป่งยูทิลิตี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อให้ความรู้พื้นฐานทางด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน
  • เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ตระหนักและเกิดจิตสำนึกทางด้านความปลอดภัย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  • เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือก่อความเสียหายต่อองค์กร

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยมีความเข้าใจในความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานและสามารถจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ ได้
  • ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยมีจิตสำนึกที่ดีด้านการทำงาน เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดการฝึกอบรมแบบไฮบริดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และในห้องฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานและลูกจ้างของโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าบ้านโป่งยูทิลิตี้ จำนวน 2 วัน

ผลการดำเนินงานในปี 2565

จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างจิตสำนึกในการทำงานด้วยความปลอดภัย (Safety Awareness) จำนวน 240 คน

กิจกรรมงานสัปดาห์ความปลอดภัย

ทุกโรงไฟฟ้าใน เอ็กโก กรุ๊ป ได้จัดให้มีกิจกรรมงานสัปดาห์ความปลอดภัย เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในด้านความปลอดภัยแก่พนักงาน ตัวอย่างของกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ งานสัปดาห์ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าขนอม ที่จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันตอบคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย การบรรยายเรื่องความปลอดภัยนอกงาน การแข่งขันการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) การบรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

งานสัปดาห์ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าโซลาโก ได้จัดให้มีกิจกรรมประกวดคำขวัญความปลอดภัยประจำปี 2565 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจราจร

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • พนักงานของโรงไฟฟ้ามีความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
  • ผู้ร่วมงานได้รับความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ

แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดให้มีกิจกรรมงานสัปดาห์ความปลอดภัยโดยเชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องความปลอดภัย รวมถึงจัดกิจกรรมให้พนักงานโรงไฟฟ้าได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัย

ปี 2564

โครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน (SAFETY TRAINING PROJECT)

เอ็กโกมีการจัดฝึกอบรมและทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในโรงไฟฟ้าและพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของเอ็กโก กรุ๊ป มีความรู้และความเข้าใจในการระมัดระวังความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน

โครงการนี้เป็นตัวอย่างหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานของบริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) บริษัทในเครือเอ็กโก กรุ๊ป ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการงานด้านการเดินเครื่อง บำรุงรักษา วิศวกรรม ก่อสร้าง งานอนุุรักษ์พลังงาน และการฝึกอบรมแก่อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ

หลักสูตรทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (Overhead Crane Operator, Controller and Signaler Refresher Training for Maintenance Staff)

รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลประโยชน์ที่ได้รับทางธุรกิจ จำนวนร้อยละของพนักงานที่เข้าร่วมหลักสูตร
  • เพื่อสร้างความตระหนักของพนักงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการทำงานของปั้นจั่นที่ไม่เหมาะสม การยกที่ไม่เหมาะสม และความสามารถในการรับน้ำหนักของลิฟต์ ตลอดจนผลกระทบต่อองค์กรในการยกระดับความตระหนักในการป้องกันความปลอดภัย
  • เพื่อให้ความรู้พนักงานเรื่องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจกรรมปั้นจั่นเหนือศีรษะ รวมทั้งกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 การฝึกอบรมดังกล่าวนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุในกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อให้การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ดำเนินอยู่ภายใต้มาตรฐาน และความปลอดภัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานให้พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานโดยใช้ปั้นจั่นประเภทต่างๆ จากงานปกติ
  • หลีกเลี่ยงความเสียหายของอุปกรณ์ประมาณ 90 ล้านบาท
  • พนักงาน 27 คนจากเอสโกได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมหลักสูตรทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
  • ลดความเสี่ยงและการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเนื่องมาจากอันตรายที่เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสม
สัดส่วนของพนักงานทั้งหมด (ส่วนบำรุงรักษา): 20.79%

ผู้เข้าร่วมอบรม:

  • พนักงานของเอสโก (ส่วนบำรุงรักษา) จำนวน 27 คน

แนวทางการฝึกอบรม:

  • การบรรยายเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจกรรมปั้นจั่นเหนือศีรษะ รวมทั้ง กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมกลุ่ม กรณีศึกษาอุบัติเหตุปั้นจั่น และผลกระทบ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อวางแผนป้องกัน
  • กิจกรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่นประเภทต่างๆ จากการทำงานปกติ

วุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรม:

หลักสูตรทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (Confined Space Working Refresher Training)

รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลประโยชน์ที่ได้รับทางธุรกิจ จำนวนร้อยละของพนักงานที่เข้าร่วมหลักสูตร
  • เพื่อสร้างความตระหนักของพนักงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการเตรียมตัวเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิต และองค์กร ตลอดจนเพื่อยกระดับความสำคัญในการป้องกันความปลอดภัย
  • เพื่อทบทวนข้อกำหนดทางกฎหมายและแนวปฏิบัติในการทำงานในพื้นที่อับอากาศที่เป็นปัจจุบัน
  • เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ระบบสื่อสาร และขั้นตอนฉุกเฉินระหว่างการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
  • ป้องกันการเกิดเหตุอุบัติการณ์และอัตรา LTIFR เท่ากับศูนย์
  • ลดความเสี่ยงและการสูญเสียชีวิต จากการระเบิด ความร้อน ไฟไหม้ หรือภาวะขาดอากาศหายใจอันเนื่องมาจากการปล่อยควันพิษ โดยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในระหว่างการทำงาน
สัดส่วนต่อพนักงานทั้งหมด (ส่วนบำรุงรักษาและส่วนปฏิบัติการ): 39.74%

ผู้เข้าร่วมอบรม:

  • พนักงานของเอสโก (ส่วนบำรุงรักษาและส่วนปฏิบัติการ) จำนวน 25 คน

แนวทางการฝึกอบรม:

  • การบรรยายและจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ:
    1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
    2. ประเภทของพื้นที่อับอากาศ
    3. การบ่งชี้ การประเมินอันตราย และการประเมินสภาพสถานที่ปฎิบัติงาน
    4. การเตรียมงานในพื้นที่อับอากาศ
    5. วิธีดำเนินการด้านความปลอดภัยในที่อับอากาศ
    6. การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์กู้ภัยในที่อับอากาศ
    7. ขั้นตอนการขอ/ เพิกถอนใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ
    8. หลักการตัดไฟเพื่อความปลอดภัย
    9. บทบาทและความรับผิดชอบของผู้อนุมัติ หัวหน้างาน และผู้ดำเนินการโครงการในพื้นที่อับอากาศ

วุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรม:

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด