การดำเนินการด้านความยั่งยืน
กุมภาพันธ์ 2564
โครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน (SAFETY TRAINING PROJECT) 2564
เอ็กโกมีการจัดฝึกอบรมและทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในโรงไฟฟ้าและพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของเอ็กโก กรุ๊ป มีความรู้และความเข้าใจในการระมัดระวังความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
โครงการนี้เป็นตัวอย่างหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานของบริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) บริษัทในเครือเอ็กโก กรุ๊ป ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการงานด้านการเดินเครื่อง บำรุงรักษา วิศวกรรม ก่อสร้าง งานอนุุรักษ์พลังงาน และการฝึกอบรมแก่อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
หลักสูตรทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (Overhead Crane Operator, Controller and Signaler Refresher Training for Maintenance Staff)
รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลประโยชน์ที่ได้รับทางธุรกิจ | จำนวนร้อยละของพนักงานที่เข้าร่วมหลักสูตร |
---|---|---|
|
|
สัดส่วนของพนักงานทั้งหมด (ส่วนบำรุงรักษา): 20.79% |
ผู้เข้าร่วมอบรม:
- พนักงานของเอสโก (ส่วนบำรุงรักษา) จำนวน 27 คน
แนวทางการฝึกอบรม:
- การบรรยายเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจกรรมปั้นจั่นเหนือศีรษะ รวมทั้ง กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
- การประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมกลุ่ม กรณีศึกษาอุบัติเหตุปั้นจั่น และผลกระทบ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อวางแผนป้องกัน
- กิจกรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่นประเภทต่างๆ จากการทำงานปกติ
วุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรม:
หลักสูตรทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (Confined Space Working Refresher Training)
รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลประโยชน์ที่ได้รับทางธุรกิจ | จำนวนร้อยละของพนักงานที่เข้าร่วมหลักสูตร |
---|---|---|
|
|
สัดส่วนต่อพนักงานทั้งหมด (ส่วนบำรุงรักษาและส่วนปฏิบัติการ): 39.74% |
ผู้เข้าร่วมอบรม:
- พนักงานของเอสโก (ส่วนบำรุงรักษาและส่วนปฏิบัติการ) จำนวน 25 คน
แนวทางการฝึกอบรม:
- การบรรยายและจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ:
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
- ประเภทของพื้นที่อับอากาศ
- การบ่งชี้ การประเมินอันตราย และการประเมินสภาพสถานที่ปฎิบัติงาน
- การเตรียมงานในพื้นที่อับอากาศ
- วิธีดำเนินการด้านความปลอดภัยในที่อับอากาศ
- การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์กู้ภัยในที่อับอากาศ
- ขั้นตอนการขอ/ เพิกถอนใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ
- หลักการตัดไฟเพื่อความปลอดภัย
- บทบาทและความรับผิดชอบของผู้อนุมัติ หัวหน้างาน และผู้ดำเนินการโครงการในพื้นที่อับอากาศ
วุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรม: