กุมภาพันธ์ 2565

โครงการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2565

นวัตกรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจขององค์กร ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสร้างความยั่งยืน นวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่องค์กรมีอยู่ นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แล้ว นวัตกรรมยังรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ เอ็กโก กรุ๊ป จึงให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความยั่งยืน และมองหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจในอนาคตสอดรับกับยุคของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดย เอ็กโก กรุ๊ป ได้จัดตั้งโครงการประกวดนวัตกรรม “EGCO Group INNERGY พลังนวัตกรรมจากภายในที่ยั่งยืน” เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมที่โดดเด่นและสามารถสร้างคุณค่าให้กับบริษัท รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์ ต่อยอด นวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย

รูปที่เกี่ยวข้องกับโครงการนวัตกรรมแบบเปิด ภายใน เอ็กโก กรุ๊ป (1)

รูปที่เกี่ยวข้องกับโครงการนวัตกรรมแบบเปิด ภายใน เอ็กโก กรุ๊ป (2)

การคำนวณประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ผ่านระบบ Project Management Information System (PMIS)

โดยปกติแล้วการหาประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะคำนวณจากระบบโดยรวมของแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดในโรงไฟฟ้าภายใต้สมมติฐานว่าประสิทธิภาพของแผงทั้งหมดในโรงไฟฟ้าเท่ากัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อโรงไฟฟ้าดำเนินการเป็นระยะเวลานาน ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์อาจถดถอย ไม่เท่ากัน จึงเป็นการยากที่จะตรวจสอบหาตำแหน่งของแผงโซล่าเซลล์ที่เสื่อมประสิทธิภาพลง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวหน่วยงานจัดการบริหารโรงไฟฟ้าของเอ็กโก กรุ๊ป จึงได้คิดค้นวิธีการคำนวณประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์แบบใหม่ที่แม่นยำมากขึ้น โดยแบ่งกลุ่มแผงโซล่าเซลล์ด้วยสตริง (String) หรืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) และคำนวณประสิทธิภาพแยกกัน ด้วยวิธีนี้จะทำให้การตรวจหาแผงโซล่าเซลล์ที่มีปัญหาทำได้รวดเร็วขึ้น สามารถดำเนินการซ่อมแซม ทำความสะอาด และทดสอบได้โดยง่าย นอกจากนี้การแสดงผลประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ ยังเชื่อมต่อกับระบบ Project Management Information System (PMIS) ซึ่งสามารถตรวจสอบดูได้ตลอดเวลาอีกด้วย

ปัจจุบันการคำนวณหาประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ในโรงไฟฟ้าแบบใหม่นี้ได้มีการดำเนินการใน โรงไฟฟ้า SPP 4 ในเครือของ เอ็กโก กรุ๊ป

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ประสิทธิภาพของ แผงโซล่าเซลล์ใน โรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  • เพิ่มปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ส่งผลให้โรงไฟฟ้าได้รับรายได้ เพิ่มขึ้น
  • ลดระยะเวลาในการตรวจสอบและบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์

แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดกลุ่มของแผงโซล่าเซลล์โดยแบ่งกลุ่ม แผงโซล่าเซลล์ด้วยสตริง (String) หรือ อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
  • เชื่อมต่อการแสดง ผลของอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เข้ากับระบบ PMIS เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ลดระยะเวลาในการพัฒนาโครงการสู่ตลาดจาก

5 ปี เหลือ 2 ปี

รายได้จากการให้บริการบำรุงรักษาแผงโซลาร์เพิ่มขึ้นจากการตรวจสอบแผงโซลาร์เสื่อมสภาพสูงขึ้นถึง

6 เท่า มูลค่าระหว่าง 1,400,000 ถึง 10,200,2000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนบริการ

เวลาที่จัดสรรสำหรับขั้นตอนการตรวจสอบและบำรุงรักษาลดลงจากการปรับปรุงการวัดผลและการใช้

PMIS เพื่อแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์

เพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่าง

2.5% ถึง 17.5%

แพลตฟอร์มการจัดการความต้องการไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ทำให้ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมการใช้รถยนต์สำหรับรถยนต์นั่งและกระบะ 440,000 คัน รถจักรยานยนต์ 650,000 คัน รถโดยสารและรถบรรทุก 33,000 คัน ภายในปี 2573 โดยปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของรถยนต์ไฟฟ้าส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าจากรูปแบบการใช้ปกติเนื่องจากความต้องการไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น กระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Reliability) และค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริโภคในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load)

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้พัฒนา แพลตฟอร์มการจัดการความต้องการไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Load Demand Management) หรือ EV-LDM โดยแพลตฟอร์มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยควบคุมช่วงเวลาและปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายให้รถยนต์ไฟฟ้า ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้และช่วยรักษาเสถียรภาพของความน่าเชื่อถือของระบบโครงข่ายไฟฟ้า ทั้งนี้ตัวอุปกรณ์ประกอบด้วย

  • EV-LDM Platform
  • EV Communication Box
  • Transformer Communication Box
  • Smart EV Charger

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพในระหว่างการจำหน่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด
  • สร้างรายได้จากติดตั้งสถานีชาร์จและแพลตฟอร์มการจัดการความต้องการไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
  • เกิดการต่อยอดทางเทคโนโลยีเพื่อช่วยการบริหารจัดการพลังงานระหว่าง โรงไฟฟ้าและ ผู้บริโภค

แนวทางการดำเนินงาน

  • การติดตั้งสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมกับ EV-LDM เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา ที่คุ้มค่าและสามารถรักษาเสถียรภาพของความน่าเชื่อถือของระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้

ผลการดำเนินงานในปี 2565

กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมถูกย่อจาก

24 เดือนเหลือ 6 เดือน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกและทรัพยากรจาก เอ็กโก กรุ๊ป ในฐานะผู้ผลิตสาธารณูปโภค ซึ่งช่วยเร่งระยะเวลาในการพัฒนาโครงการเข้าสู่ตลาดภายใน 1 ปี

สร้างรายได้

100 ล้านบาท จากสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและแพลตฟอร์ม EV-LDM

พนักงานได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของแพลตฟอร์ม

EV-LDM ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาระงานที่ได้รับผิดชอบ

ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลง

70 เมกะวัตต์ หรือ 20% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเนื่องจากระยะเวลาและปริมาณการชาร์จที่ควบคุมโดยรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มความน่าเชื่อถือของกริด 50% โดยเฉพาะในช่วงที่มีโหลดสูงสุด

Co-bot Operator ระบบตรวจสอบด้วยปัญญาประดิษฐ์

การดำเนินกิจกรรมภายในโรงไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบและซ่อมบำรุงตามกำหนดการ หรือเมื่อเกิดเหตุผิดปกติในระหว่างการดำเนินงาน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานจากอุบัติเหตุ สารเคมี หรือการรั่วไหลของไอน้ำแรงดันสูงในระบบ รวมถึงการตรวจสอบในแต่ละครั้งมีระยะเวลานานและ ใช้ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ เอ็กโก กรุ๊ป แก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยลดความเสี่ยงและเวลาในการตรวจสอบเครื่องจักรระหว่างการดำเนินกิจกรรมภายในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงขึ้น

โดยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ถูกออกแบบให้มีความสามารถในการวัดอุณหภูมิ ความดัน การสั่นสะเทือน และความดังของเสียง รวมถึงการถ่ายภาพ Thermo-scan ของท่อ อุปกรณ์ และบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของระบบ นอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์โดยการนำข้อมูลในช่วงการปฏิบัติงานปกติมาเปรียบเทียบ โดยหากค่าที่วัดได้มากกว่าหรือน้อยกว่าจะแสดงการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบ อีกทั้งหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถหลบหลีกและหยุดเมื่อมีสิ่งกีดขวางได้อีกด้วย

ทั้งนี้ เอ็กโก กรุ๊ป ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจซื้อขายและเช่าหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไปยังกลุ่มลูกค้าในภาคส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี และโรงงานอุตสาหกรรรมในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยให้บริการดูแล ติดตั้งระบบและแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริการดูแลซ่อมบำรุงหลังการขาย

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • เกิดการพัฒนา ต่อยอดเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  • ลดความเสี่ยงของ ผู้ปฏิบัติงานในระหว่างการตรวจสอบเครื่องจักรเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ
  • ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรตามกำหนดการ

แนวทางการดำเนินงาน

  • ใช้หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับ ผู้ปฏิบัติงานในการตรวจสอบเครื่องจักรในระหว่างการทำงาน โดยสามารถวัด อุณหภูมิ ความดัน การสั่นสะเทือน และความดังของเสียง รวมถึงการถ่ายภาพ Thermo-scan ของท่อ อุปกรณ์และบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของระบบ

ผลการดำเนินงานในปี 2565

รายได้จากโอกาสธุรกิจให้เช่าหรือขาย Co-bot Operator

11,750,000 บาท

ระบบโครงข่ายซื้อขายไฟฟ้าและบริหารจัดการพลังงาน

เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจมุ่งสู่ความยั่งยืนและให้สอดรับกับยุคเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน เอ็กโก กรุ๊ป มีโครงการสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านธุรกิจไฟฟ้ามาโดยตลอด

สำหรับระบบโครงข่ายซื้อขายไฟฟ้า (Peer-to-Peer Energy Trading Platform) ได้รับการพัฒนาจาก โรงไฟฟ้าโซลาร์โก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการ ซื้อขายพลังงานหมุนเวียนส่วนเกินที่ผลิตได้ระหว่าง โพรซูเมอร์ (Prosumer) และผู้บริโภคผ่านแอพพลิเคชั่น โดยมี เอ็กโก กรุ๊ป เป็นผู้ให้บริการระบบเครือข่ายซื้อขายไฟฟ้า

ทั้งนี้เทคโนโลยีระบบการซื้อขายไฟฟ้านี้มีจุดเด่น คือ

  • การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time)
  • การใช้ Smart contract ที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเป็นผู้กำหนดไว้ โดยผู้ซื้อและผู้ขายยอมรับในกลไกราคาดังกล่าว
  • การใช้แพลตฟอร์มในการออกบิลและเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากการซื้อขายพลังงานได้

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจการ กระจายศูนย์ของธุรกิจพลังงาน (Decentralized Energy) ในอนาคต
  • ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของตลาดพลังงานสะอาดภายในประเทศ

แนวทางการดำเนินงาน

  • ทดสอบการซื้อขายพลังงานส่วนเกิน ระหว่างโพรซูเมอร์ (Prosumer) และผู้บริโภค

ผลการดำเนินงานในปี 2565

การซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบ Peer-to-Peer Energy Trading Platform สำหรับ โพรซูเมอร์จำนวนน

100 แห่ง สามารถสร้างมูลค่าทางการขาย (Revenue Generated) โดยประมาณ 102,600,000 บาท

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด