พฤษภาคม 2567

นวัตกรรมแบบเปิด

นวัตกรรมแบบเปิด 2566 (OPEN INNOVATION)

นวัตกรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจขององค์กร ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสร้างความยั่งยืน นวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่องค์กรมีอยู่ นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แล้ว นวัตกรรมยังรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ เอ็กโก กรุ๊ป จึงให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความยั่งยืน และมองหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจในอนาคตสอดรับกับยุคของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดย เอ็กโก กรุ๊ป ได้จัดตั้งโครงการประกวดนวัตกรรม “EGCO Group INNERGY พลังนวัตกรรมจากภายในที่ยั่งยืน” เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมที่โดดเด่นและสามารถสร้างคุณค่าให้กับบริษัท รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์ ต่อยอด นวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย

โครงการ Cooling Tower Energy Saving

เนื่องจากในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะทำให้เกิดการผลิตน้ำอุณหภูมิสูงซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการ การนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในระบบอีกครั้งจำเป็นต้องลดอุณหภูมิให้น้อยลงก่อนทุกครั้ง การใช้หอหล่อเย็น (Cooling tower) เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ลดอุณหภูมิได้ โรงไฟฟ้าคลองหลวง ยูทิลิตี้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้ทำการปรับปรุงมุม (Pit angle) ของใบพัดของหอหล่อเย็น ซึ่งหลังการปรับปรุงพบว่าสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 438,876 กิโลวัตต์/ปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากการลดใช้พลังงานได้ 198 ตัน/ปี

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ลดค่าใช้จ่ายจากการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิง
  • พนักงานมีทักษะการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องจักรเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการดำเนินงาน

  • ปรับมุมใบพัดของ cooling tower ให้ลดลง 1 องศา

ผลการดำเนินงานในปี 2566

ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายจากการใช้เชื้อเพลิงได้ 1.8 ล้านบาท/ปี และ 1.4 ล้านบาท/ปี ตามลำดับ

พนักงานได้เพิ่มทักษะการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องจักร เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาเครื่องจักรอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

ลดผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 198 ตัน/ปี

โครงการ KLU Smart Solution

จากกรณี STG lube oil เกิดการรั่วจนทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมา ทั้งเหตุการณ์ไฟไหม้ส่งผลให้เครื่องจักรไอน้ำหยุดทำงานเป็นเวลา 3 เดือน เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้คิดค้นวิธีแก้ไขและป้องกันโดยคาดหวังไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต สำหรับวิธีการแก้ปัญหามีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. เปลี่ยน Signal interface เป็น Hardwire
  2. ปรับ Memory timer ที่ตู้ไฟฟ้า Switchgear
  3. เพิ่ม Alarm Annunciator Window ที่ Control Room
  4. ติดตั้ง DC Lube Oil Vacuum Fan และ Sensor

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรไอน้ำดีขึ้น
  • เครื่องจักรไอน้ำสามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง

แนวทางการดำเนินงาน

  • รับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ไขการรั่วของ STG lube oil

ผลการดำเนินงานในปี 2566

พนักงานได้ใช้ความชำนาญและประสบการณ์ในการเพิ่มพูลทักษะและคิดวิธีการแก้ไขปัญหากับเครื่องจักรที่ต้องใช้งานเป็นประจำ

เครื่องจักรไอน้ำสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดการสูญเสียรายได้และค่าบำรุงรักษาเป็นจำนวนเงิน 157,176,678 บาท

โครงการ Zero Loss

เนื่องจากรถไฟฟ้ามีแนวโน้มเป็นยานยนต์สำหรับการคมนาคมที่ได้รับความนิยมในอนาคตซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุแตกต่างกัน เช่น ต้องการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้รถยนต์น้ำมัน หรือความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นต้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีเมื่อมีการใช้รถไฟฟ้าคืออุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรีรถ ดังนั้นพนักงานจาก เอ็กโก กรุ๊ป ได้มีการคิดค้น “All-in-one EV charger” ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดแต่มีประสิทธิภาพสูง ชาร์จที่บ้านได้ ควบคุมการชาร์จจากโทรศัพท์ได้ และสามารถลดค่าใช้จ่ายซึ่งต่างจากการชาร์จแบตทั่วไปได้ด้วยฟังก์ชันการชาร์จอย่างชาญฉลาด (smart charging) โดยอุปกรณ์ชาร์จแบตจะปรับให้ชาร์จตามปริมาณการใช้แบตเตอร์รี่ของรถคันนั้น ๆ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • มีความสะดวกสบายในการใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายจากการชาร์จแบตด้วยฟังก์ชันที่ออกแบบเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ชาร์จแบตนี้
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลิกใช้รถเครื่องสันดาป

แนวทางการดำเนินงาน

  • • ผลิตอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้รถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

ผลการดำเนินงานในปี 2566

พนักงานได้มีการคิดค้นและพัฒนาฟังก์ชันต่าง ๆ ในอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด