มีนาคม 2565

EGCO Ecosystem โครงการคัดแยกขยะในองค์กร

ปี 2565

การจัดการขยะและของเสียอันตราย

โครงการจัดการขยะภายในองค์กรตั้งแต่ต้นทาง

ปริมาณขยะในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง อีกทั้งปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรั่วไหลของขยะออกสู่ทะเลกลายเป็นขยะทะเล

เอ็กโก กรุ๊ป เล็งเห็นปัญหาการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจึงได้จัดตั้งโครงการจัดการขยะภายในองค์กร หรือ “EGCO Ecosystem” ตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้พนักงานรู้จักประเภทขยะและมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะตามเจตนารมณ์การดำเนินธุรกิจของ เอ็กโก กรุ๊ป ด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ร่วมสร้างระบบนิเวศที่ดี เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

การจัดการขยะภายในองค์กรมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักการประกอบด้วย

  • 3Rs: “Reduce Reuse และ Recycle” ลดการเกิด ขยะหรือของเสีย นำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และนำของเสียไปผ่านกระบวนการหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • การส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบด้วยการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และ การกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลด ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เอ็กโก กรุ๊ป ยังได้ขยายขอบเขตของโครงการจัดการขยะภายในองค์กรสู่ความร่วมมือระดับชุมชนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้โมเดลจัดการขยะใน วงกว้างผ่านการเข้าร่วมโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนและแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการคัดแยกขยะสู่ชุมชนวัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง โดยเริ่มจากการจัดตั้งถังขยะแยกประเภท 4 แบบ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และของเสียอันตราย เพื่อตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในบริเวณวัดซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของชุมชน และจัดการบรรยาย แบ่งปันองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะภายในองค์กร โดยร่วมกับพันธมิตรดิจิตอลแพลตฟอร์ม “เก็บสะอาด” (GEPP Sa-Ard) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางให้แก่พระสงฆ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการขยะของวัด และอุบาสกอุบาสิกาที่มาทำบุญที่ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง โดยมีจุดมุ่งหมายส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะในวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากความมุ่งมั่นและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของโครงการจัดการขยะภายในองค์กร เอ็กโก กรุ๊ป ได้รับรางวัล “Asia Responsible Enterprise Awards 2022” สาขา Green Leadership จากสถาบัน Enterprise Asia ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และได้รับใบประกาศเกียรติคุณ “Low Carbon Business: Waste Management Award” จากโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ”

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรแก่ภาคธุรกิจและชุมชน
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่าง เอ็กโก กรุ๊ป และองค์กรพันธมิตร
  • พัฒนาโมเดลการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
  • ลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและ ส่งเสริมให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ

แนวทางการดำเนินงาน

  • เน้นการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
  • ยึดหลัก 3R “Reduce Reuse Recycle” หรือ “ลดใช้ นำกลับมา ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล
  • ส่งเสริมให้เกิด การจัดการขยะอย่างเป็นระบบด้วยการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณของเสียอันตรายที่ลดลง ใน 2 กรณี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563-2564 ที่มีการคัดแยกแต่ไม่มีการส่งกำจัด ได้แก่

  • การรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเข้าร่วมโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” กับ AIS โดยเอ็กโก กรุ๊ป รวบรวมและนำส่งเพื่อกำจัดต่ออย่างถูกวิธีร้อยละ 100
  • การรวบรวมขยะกำพร้าและส่งกำจัดได้ร้อยละ 100 ของที่รวบรวมได้

เพิ่มปริมาณการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะได้มากกว่าปี 2563-2564 จำนวน 2 ประเภท

โดยในปี 2565 มีปริมาณการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโครงการดังกล่าว จำนวนมากกว่า 9,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการปุ๋ยหมัก จากเศษขยะภายในโรงไฟฟ้าขนอม

จากโครงการส่งเสริมการจัดการขยะภายในองค์กร หรือ “EGCO Ecosystem” ของเอ็กโก กรุ๊ป ซึ่งมุ่งเน้นการจัดการขยะที่ต้นทางและ ส่งเสริมให้พนักงานรู้จักประเภทขยะและมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะ ในปี 2565 โรงไฟฟ้าขนอม ได้จัดทำโครงการเปลี่ยนเศษขยะภายในโรงไฟฟ้าเป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 โดย มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น เศษใบไม้และหญ้าจากภายในบริเวณรอบ ๆ โรงไฟฟ้า นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้เองภายใน ส่งผลให้โรงไฟฟ้าสามารถลดจำนวนการใช้ปุ๋ยเคมีลง และสามารถผลิตปุ๋ยหมักใช้ได้เองกว่า 8,000 กิโลกรัม

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดจำนวนขยะที่ถูกทิ้งลง บ่อขยะ
  • เกิดการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ภายในโรงงานโดยได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยหมัก
  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในบริเวณ โรงไฟฟ้า

แนวทางการดำเนินงาน

  • นำเศษใบไม้ และหญ้า ที่ตัดภายในโรงไฟฟ้ามาผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้เองภายในโรงไฟฟ้า

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณปุ๋ยหมักที่ผลิตได้จากขยะอินทรีย์ภายในโรงไฟฟ้า 8,000 กิโลกรัม

โครงการ รีไซเคิลขยะภายในโรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL)

โรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL) มีนโยบายในการบริหารจัดการขยะโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนสู่แหล่งกำจัด (Cradle-to-Grave Responsibility) ซึ่งรวมถึงการลดประมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง การคัดแยก การรีไซเคิล และการส่งคืนสู่ผู้รับเหมาเพื่อหลีกเลี่ยงการกำจัดแบบฝังกลบ

โรงไฟฟ้าเคซอน และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา ได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะ ได้แก่

  • การรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น บรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว สายพานลำเลียงที่ใช้แล้ว เศษโลหะ เป็นต้น
  • การบริจาคเศษไม้พาเลท ไม้ใช้แล้ว กิ่งไม้ เพื่อนำไปใช้เป็นฟืนหรือใช้ผลิตถ่าน
  • การบริจาคเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นอาหารแก่สัตว์ และการบริจาคขยะอินทรีย์เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบในการทำปุ๋ยหมัก
  • การรีไซเคิลของเสียอันตราย เช่น ซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and Electronic Equipment, WEEE) น้ำมันใช้แล้ว น้ำมันพืชใช้แล้ว กากตะกอนปนเปื้อนน้ำมัน กากไขมัน ภาชนะบรรจุสารเคมีเปล่า

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดจำนวนปริมาณของเสียอันตรายและขยะที่ถูกส่งไปกำจัดโดยการฝังกลบ
  • ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากขยะที่ถูกฝังกลบ

แนวทางการดำเนินงาน

  • นำส่งขยะไปยังแหล่งรีไซเคิลที่เหมาะสมกับประเภทของขยะ

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณขยะที่ได้รับการรีไซเคิลจากโรงไฟฟ้าเคซอน และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา 654.18 ตัน

ปริมาณของเสียอันตรายที่ได้รับการรีไซเคิลจากโรงไฟฟ้าเคซอน และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา 39.04 ตัน

ปริมาณการปล่อยของก๊าซเรือนกระจกที่หลีกเลี่ยงได้ 2,038.05 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการรีไซเคิลของเสียอันตรายและขยะในโรงไฟฟ้าเคซอน และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา

โครงการ รีไซเคิลขี้เถ้าลอย (Fly Ash) ภายในโรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL)

โรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL) ได้ดำเนินโครงการรีไซเคิลขี้เถ้าลอย (Fly Ash) ที่เกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้าโดยส่งให้บริษัท Pozzolanic Philippines Inc. (PPI) นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตปูนซีเมนต์หรือวัสดุก่อสร้าง โดยในปี 2565 ขี้เถ้าลอยที่เกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้าเคซอนและโรงไฟฟ้าซาน บัวนาเวนทูรา ที่ได้รับการรีไซเคิลมีจำนวน 98.02% และ 98.57% ตามลำดับ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดปริมาณขี้เถ้าลอยและก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบ

แนวทางการดำเนินงาน

  • รีไซเคิลขี้เถ้าลอยเพื่อเป็นนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตปูนซีเมนต์หรือวัสดุก่อสร้าง

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณขี้เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าเคซอนและโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา ที่ถูกนำไปรีไซเคิล 62,338.87 ตัน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่หลีกเลี่ยงได้จากการรีไซเคิลขี้เถ้าลอยในโรงไฟฟ้าเคซอน และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา 183,276.28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ปี 2564

EGCO Ecosystem โครงการคัดแยกขยะในองค์กร

เอ็กโก กรุ๊ป ตระหนักและเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในทุกที่ที่ดำเนินกิจการจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ โดยเริ่มต้นปลูกฝังจาก “พนักงาน” ผ่านโครงการ “EGCO Ecosystem” หรือโครงการคัดแยกขยะภายในองค์กร ที่เริ่มต้นอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้พนักงานภายในองค์กรคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อไป

ประเภทขยะที่คัดแยกมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน คือ

ขยะเศษอาหาร

เศษอาหาร ผัก และเปลือกผลไม้ เป็นต้น

ขยะทั่วไป

หลอด ทิชชู กล่องโฟม และถุงขนม เป็นต้น

ขยะรีไซเคิล

กล่องพลาสติก กระป๋อง และขวดแก้ว เป็นต้น

ขยะอันตราย

ยา กาว หลอดไฟ และถ่าน เป็นต้น

ในปี 2564 อาคารเอ็กโก สำนักงานใหญ่ มีปริมาณขยะรีไซเคิลรวม 3,076.63 กิโลกรัม และอัตราการรีไซเคิลโดยรวม 60% (สัดส่วนในเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2564) และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 10.098 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2564) ด้วยผลงานที่น่าพอใจทำให้โครงการ EGCO Ecosystem ได้รับใบประกาศเกียรติคุณและการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เพื่อขยายผลลัพธ์ไปสู่สังคมวงกว้าง เอ็กโก กรุ๊ป ยังได้ผนึกกำลังกับโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อไป

โครงการจัดการขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน (Ash Management)

โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีนเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงซึ่งขี้เถ้าแกลบที่เกิดจากการเผาไหม้นั้นได้รับการตรวจสอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าไม่มีสารพิษอันตราย

ดังนั้นโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีนจึงทำการรวบรวมและขนย้ายขี้เถ้าลอยและขี้เถ้าหนักโดยสายพานลำเลียงมายังห้องเก็บขี้เถ้าก่อนปล่อยลงสู่รถบรรทุกซึ่งต่อเติมกระบะอย่างมิดชิดทั้ง 4 ด้านเพื่อนำไปขายหรือแจกจ่ายแก่เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงใช้ทำปุ๋ยและสารปรับปรุงคุณภาพดิน และในระหว่างการขนส่งได้มีการปิดคลุมภาชนะบรรจุ และฉีดพรมน้ำเพื่อลดปริมาณการฟุ้งกระจายของฝุ่นขี้เถ้า

ทั้งนี้ในปี 2564 ปริมาณขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน เท่ากับ 13,144.33 ตัน โดยขี้เถ้าร้อยละ 45 ถูกนำไปขายเพื่อใช้ในเชิงเกษตรกรรม และส่วนที่เหลือถูกบริจาคให้แก่หน่วยงานราชการ และเกษตรกร

โครงการจัดการขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าเคซอน (Ash Management)

โรงไฟฟ้าเคซอนใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพสูงรวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีแบบ Pulverized Coal Technology จึงทำให้ขี้เถ้าลอยและขี้เถ้าหนักที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่มีสารพิษอันตราย

โรงไฟฟ้าเคซอนจึงดำเนินโครงการรีไซเคิลโดยร่วมมือกับบริษัท Pozzolanic Philippines, Inc. เพื่อนำเถ้าลอยไปรีไซเคิลเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ และเถ้าหนักนำไปรีไซเคิลเพื่อถมถนนร่วมกับกรมโยธาธิการและทางหลวงประเทศฟิลิปปินส์

จากจำนวนขี้เถ้าทั้งหมด

55,260.51 ตัน

ที่เกิดจากการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเคซอนในปี 2564 ขี้เถ้า 99.36% ของทั้งหมดถูกนำไปรีไซเคิล และขี้เถ้าส่วนที่เหลือถูกนำไปฝังกลบ

ทั้งนี้ โครงการรีไซเคิลสามารถช่วยลดปริมาณเถ้าลอยและเถ้าหนักที่ต้องนำไปฝังกลบจึงเป็นการประหยัดพื้นที่จัดเก็บที่จำกัด และหลีกเลี่ยงการปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 154,431.82 tonCO2e (ณ 31 ธันวาคม 2564) นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าเคซอนยังนำเงินที่ได้จากการขายเถ้าลอยไปดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอีกด้วย

โครงการลดการนำของเสียไปกำจัดของโรงไฟฟ้าเคซอน (Waste Disposal Reduction)

ในปี 2564 โรงไฟฟ้าเคซอนบริหารจัดการของเสียไม่อันตรายด้วยการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และนำไปผ่านกระบวนการหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 113.25 ตัน (ณ 31 ธันวาคม 2564)

ซึ่งประกอบด้วย ขยะมูลฝอยที่รีไซเคิลได้ บล็อกคอนกรีตที่ไม่ใช้แล้ว กิ่งไม้ตัดที่บริจาคให้กับผู้ผลิตถ่าน เศษโลหะ เศษอาหารที่บริจาคให้กับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเป็นอาหารสำหรับหมูป่า ขวดพลาสติกที่บริจาคเพื่อการรีไซเคิล และขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เป็นต้น ซึ่งคิดเป็นการแปรรูปขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งสิ้น 22.60% ของขยะไม่อันตรายทั้งหมด

พื้นที่ทำปุ๋ยหมัก (Composting Area)

บริจาคไม้ที่ใช้แล้วให้กับผู้ผลิตถ่าน (Donation of Used Woods to Charcoal Maker)

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด