มีนาคม 2565

โครงการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

ปี 2565

การจัดการน้ำและน้ำเสีย

“น้ำ” จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีวิต ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการน้ำทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกภาคส่วน ความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับปัจจัยด้านความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตัดไม้ทำลายป่า ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

เอ็กโก กรุ๊ป  เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้น บริษัทจึงได้กำหนดหลักการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดภายในองค์กรด้วยวิธี 3Rs : Reduce Reuse และ Recycle หรือการลดการใช้น้ำ การใช้น้ำช้ำ และการนำน้ำไปผ่านกระบวนการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ

โครงการลดการใช้น้ำโดยการเพิ่มจำนวนรอบใช้น้ำซ้ำภายในหอหล่อเย็นภายในโรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจน

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เอ็กโก กรุ๊ป ได้ดำเนินงานโครงการลดน้ำการใช้น้ำในโรงไฟฟ้าโดยมุ่งเน้นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2565 โรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมได้ริเริ่มโครงการเพิ่มจำนวนรอบใช้น้ำซ้ำภายในหอหล่อเย็นของโรงไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยน้ำทิ้งจากระบบหอหล่อเย็น โดยใช้วิธีการเพิ่มจำนวนรอบของระบบบำบัดน้ำภายในหอหล่อเย็น ซึ่งส่งผลให้โรงไฟฟ้า เอ็กโก โคเจน สามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการใช้น้ำดิบและสารเคมีภายในระบบหอหล่อเย็น และช่วยลดการเกิดตะกรันและการสะสมของแคลเซียมและแมงกานีสในระบบได้อีกด้วย

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดปริมาณน้ำดิบที่ใช้ในโรงไฟฟ้า
  • ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้เติมในระบบหอหล่อเย็น
  • ลดต้นทุนการจัดการระบบ หอหล่อเย็น

แนวทางการดำเนินงาน

  • เพิ่มจำนวนรอบของระบบบำบัดน้ำภายในหอหล่อเย็นจากจำนวน 8 รอบ เป็น 9.5 รอบ

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณการใช้น้ำลดลง 19,956 ลูกบาศก์เมตร

จำนวนต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากลดการใช้สารเคมีในระบบหอหล่อเย็น 160,000 บาท

จำนวนต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากลดปริมาณการใช้น้ำ 400,000 บาท

โครงการ บำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในโรงไฟฟ้า

ทุกโรงไฟฟ้าภายใต้ เอ็กโก กรุ๊ป  มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงมีกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด เช่น โครงการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ของโรงไฟฟ้าบ้านโป่ง และโรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจน ที่นำน้ำทิ้งจากบ่อพักน้ำสุดท้ายที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ โดยการรดน้ำต้นไม้และสนามหญ้า และนำมาล้างพื้นภายในโรงงาน ซึ่งช่วยให้โรงไฟฟ้าสามารถลดต้นทุนด้านการใช้น้ำลงได้

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดปริมาณการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
  • ลดต้นทุนด้านการใช้น้ำของโรงไฟฟ้า

แนวทางการดำเนินงาน

  • นำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้า

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ในโรงไฟฟ้าบ้านโป่ง 17,685 ลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ในโรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจน 99,939 ลูกบาศก์เมตร

ลดต้นทุนด้านการใช้น้ำในโรงไฟฟ้าบ้านโป่ง 82,412 บาท

ลดต้นทุนด้านการใช้น้ำในโรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจน 1,998,780 บาท

โครงการ บำบัดน้ำเสียเพื่อการใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้าขนอม

โครงการบำบัดน้ำเสียเพื่อการใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้าขนอม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการนำน้ำเสียที่บำบัดแล้วมาเก็บไว้ในบ่อพักเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การปลูกพืชน้ำและการรดน้ำต้นไม้ในบริเวณรอบโรงไฟฟ้า

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดปริมาณการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
  • ลดต้นทุนการใช้น้ำประปาในภายในโรงไฟฟ้า

แนวทางการดำเนินงาน

  • นำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้า

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ในโรงไฟฟ้าขนอม 8,822 ลูกบาศก์เมตร

ลดต้นทุนด้านการใช้น้ำในโรงไฟฟ้าขนอม 35,288 บาท

โครงการ บำบัดน้ำเสียเพื่อการใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL)

โรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา (SBPL) และโรงไฟฟ้าเคซอน (QPL) ได้ดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียเพื่อใช้ภายในโรงไฟฟ้า โดยน้ำเสียที่บำบัดแล้วจะถูกใช้ประโยชน์ในกิจกรรม ได้แก่

  • ใช้ฉีดพรมระบบขนส่งขี้เถ้าหนักของถ่านหิน (Bottom Ash Handling System; BAHS) และบนถนนภายในโรงไฟฟ้าเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น
  • ใช้ล้างคอนเดนเซอร์ (Condensers)
  • ใช้ลดอุณหภูมิของก๊าซไอเสียในระบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitator; ESP)
  • ใช้ในระบบกรองน้ำแบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis; RO)

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

  • ลดปริมาณการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากน้ำเสีย

แนวทางการดำเนินงาน

  • นำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้า

ผลการดำเนินงานในปี 2565

ปริมาณน้ำเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงไฟฟ้าเคซอนและโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา 81,067.36 ลูกบาศก์ เมตร

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่หลีกเลี่ยงได้จากการใช้นำน้ำเสียที่บำบัดแล้วมาใช้ใหม่ภายในโรงไฟฟ้าเคซอนและโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา 16.78 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า

ปี 2564

โครงการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

มาตรการใช้น้ำของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ติดตั้งตั้งระบบแยกน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination reverse osmosis system) กำลังผลิต 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งสามารถทดแทนแหล่งน้ำดิบขั้นต้นของโรงไฟฟ้าได้ทั้งหมด ในสภาวะวิกฤติจากภัยแล้ง

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าได้ริเริ่มโครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต และการอุปโภค เช่น การรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น เฉลี่ยรวม 474,135 ลบ.ม./ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

โครงการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ของโรงไฟฟ้าเคซอน

โรงไฟฟ้าเคซอนแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายในโรงไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยได้ดำเนินโครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ ดังนี้

  • นำน้ำเสีย 5,151.16 ลบ.ม. ที่ผ่านการบำบัดจากอ่างตกตะกอนน้ำเสีย (Clarifier basin) มาใช้สำหรับการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคที่หน่วยกรองน้ำระบบ RO (Reverse osmosis unit) เพื่อทดแทนปริมาณน้ำดิบขั้นต้นในช่วงการเริ่มต้นเดินเครื่องโรงไฟฟ้า
  • ใช้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัด 36,198.09 ลบ.ม. มาฉีดเพื่อลดอุณหภูมิของไอก๊าซที่ Spray Dryer Absorber ก่อนเข้าระบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต
  • ใช้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัด 4,362.31 ลบ.ม. เพื่อฉีดลดฝุ่นที่ถนนและพื้นที่กักเก็บขี้เถ้า

สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 45,711.56 ลบ.ม. ในปี 2564 และหลีกเลี่ยงการปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.46 MtonCO2e

โครงการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ของโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา พาวเวอร์ จำกัด (เอสบีพีแอล)

โรงไฟฟ้าเอสบีพีแอลมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายในโรงไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยได้ดำเนินโครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ ดังนี้

  • นำน้ำเสีย 5,151.16 ที่ผ่านการบำบัดจากอ่างตกตะกอนน้ำเสีย (Clarifier Basin) มาใช้สำหรับการล้างคอนเดนเซอร์ (Condenser Cleaning)
  • นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด 36,198.09 ลบ.ม. จากบ่อเก็บน้ำเสียที่บำบัดแล้ว (Treated Effluent Pond: TEP) มาใช้ฉีดกองขี้เถ้าเพื่อลดการกระจายของฝุ่น
  • ใช้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัด 4,362.31 เพื่อฉีดลดฝุ่นที่ถนน

ในภาพรวมของปี 2564 โรงไฟฟ้าเอสบีพีแอลสามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 4.08 MtonCO2e

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด