กุมภาพันธ์ 2564

EGCO Ecosystem โครงการคัดแยกขยะในองค์กร 2564

เอ็กโก กรุ๊ป ตระหนักและเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในทุกที่ที่ดำเนินกิจการจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ โดยเริ่มต้นปลูกฝังจาก “พนักงาน” ผ่านโครงการ “EGCO Ecosystem” หรือโครงการคัดแยกขยะภายในองค์กร ที่เริ่มต้นอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้พนักงานภายในองค์กรคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อไป

ประเภทขยะที่คัดแยกมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน คือ

ขยะเศษอาหาร

เศษอาหาร ผัก และเปลือกผลไม้ เป็นต้น

ขยะทั่วไป

หลอด ทิชชู กล่องโฟม และถุงขนม เป็นต้น

ขยะรีไซเคิล

กล่องพลาสติก กระป๋อง และขวดแก้ว เป็นต้น

ขยะอันตราย

ยา กาว หลอดไฟ และถ่าน เป็นต้น

ในปี 2564 อาคารเอ็กโก สำนักงานใหญ่ มีปริมาณขยะรีไซเคิลรวม 3,076.63 กิโลกรัม และอัตราการรีไซเคิลโดยรวม 60% (สัดส่วนในเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2564) และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 10.098 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2564) ด้วยผลงานที่น่าพอใจทำให้โครงการ EGCO Ecosystem ได้รับใบประกาศเกียรติคุณและการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เพื่อขยายผลลัพธ์ไปสู่สังคมวงกว้าง เอ็กโก กรุ๊ป ยังได้ผนึกกำลังกับโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อไป

โครงการจัดการขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน (Ash Management)

โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีนเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงซึ่งขี้เถ้าแกลบที่เกิดจากการเผาไหม้นั้นได้รับการตรวจสอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าไม่มีสารพิษอันตราย

ดังนั้นโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีนจึงทำการรวบรวมและขนย้ายขี้เถ้าลอยและขี้เถ้าหนักโดยสายพานลำเลียงมายังห้องเก็บขี้เถ้าก่อนปล่อยลงสู่รถบรรทุกซึ่งต่อเติมกระบะอย่างมิดชิดทั้ง 4 ด้านเพื่อนำไปขายหรือแจกจ่ายแก่เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงใช้ทำปุ๋ยและสารปรับปรุงคุณภาพดิน และในระหว่างการขนส่งได้มีการปิดคลุมภาชนะบรรจุ และฉีดพรมน้ำเพื่อลดปริมาณการฟุ้งกระจายของฝุ่นขี้เถ้า

ทั้งนี้ในปี 2564 ปริมาณขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน เท่ากับ 13,144.33 ตัน โดยขี้เถ้าร้อยละ 45 ถูกนำไปขายเพื่อใช้ในเชิงเกษตรกรรม และส่วนที่เหลือถูกบริจาคให้แก่หน่วยงานราชการ และเกษตรกร

โครงการจัดการขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าเคซอน (Ash Management)

โรงไฟฟ้าเคซอนใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพสูงรวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีแบบ Pulverized Coal Technology จึงทำให้ขี้เถ้าลอยและขี้เถ้าหนักที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่มีสารพิษอันตราย

โรงไฟฟ้าเคซอนจึงดำเนินโครงการรีไซเคิลโดยร่วมมือกับบริษัท Pozzolanic Philippines, Inc. เพื่อนำเถ้าลอยไปรีไซเคิลเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ และเถ้าหนักนำไปรีไซเคิลเพื่อถมถนนร่วมกับกรมโยธาธิการและทางหลวงประเทศฟิลิปปินส์

จากจำนวนขี้เถ้าทั้งหมด

55,260.51 ตัน

ที่เกิดจากการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเคซอนในปี 2564 ขี้เถ้า 99.36% ของทั้งหมดถูกนำไปรีไซเคิล และขี้เถ้าส่วนที่เหลือถูกนำไปฝังกลบ

ทั้งนี้ โครงการรีไซเคิลสามารถช่วยลดปริมาณเถ้าลอยและเถ้าหนักที่ต้องนำไปฝังกลบจึงเป็นการประหยัดพื้นที่จัดเก็บที่จำกัด และหลีกเลี่ยงการปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 154,431.82 tonCO2e (ณ 31 ธันวาคม 2564) นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าเคซอนยังนำเงินที่ได้จากการขายเถ้าลอยไปดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอีกด้วย

โครงการลดการนำของเสียไปกำจัดของโรงไฟฟ้าเคซอน (Waste Disposal Reduction)

ในปี 2564 โรงไฟฟ้าเคซอนบริหารจัดการของเสียไม่อันตรายด้วยการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และนำไปผ่านกระบวนการหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 113.25 ตัน (ณ 31 ธันวาคม 2564)

ซึ่งประกอบด้วย ขยะมูลฝอยที่รีไซเคิลได้ บล็อกคอนกรีตที่ไม่ใช้แล้ว กิ่งไม้ตัดที่บริจาคให้กับผู้ผลิตถ่าน เศษโลหะ เศษอาหารที่บริจาคให้กับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเป็นอาหารสำหรับหมูป่า ขวดพลาสติกที่บริจาคเพื่อการรีไซเคิล และขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เป็นต้น ซึ่งคิดเป็นการแปรรูปขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งสิ้น 22.60% ของขยะไม่อันตรายทั้งหมด

พื้นที่ทำปุ๋ยหมัก (Composting Area)

บริจาคไม้ที่ใช้แล้วให้กับผู้ผลิตถ่าน (Donation of Used Woods to Charcoal Maker)

โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูโครงการทั้งหมด